งิ้วเพิ่มเติม
สรรพคุณของสมุนไพรงิ้ว
1. รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
2. ยางใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ยาง)
3. ช่วยแก้โรคมะเร็ง (เมล็ด)
4. เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
5. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดง 1 กิโลกรัม
นำมาล้างให้สะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปใส่ในหม้อต้มยาสมุนไพร
เติมน้ำสะอาดลงไป 5 ลิตรและต้มจนเดือด แล้วให้รินเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิเมตร)
วันละ 2 ครั้งทุกเช้าและเย็น (น้ำงิ้วที่ได้จะมีสีแดงเหมือนน้ำกระเจี๊ยบ)
(เปลือกต้น)
6. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ได้ดีมาก (ดอก)[ ส่วนหนามมีสรรพคุณแก้ไข้
ลดความร้อน ดับพิษร้อน (หนาม) ช่วยแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ (หนาม)
7. ช่วยระงับประสาท (ดอก)
8. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ดอก)
9. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ (ราก, เปลือกต้น)
10. ช่วยรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมในคออักเสบ (ใบ)
11. ช่วยแก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ใบ)[
12. ช่วยรักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (เปลือกต้น, ราก)
13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ลงท้อง (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล)
บรรเทาอาการท้องเดิน (เปลือกต้น, ดอก)
14. เปลือกต้นช่วยแก้บิด (เปลือกต้น, ดอก, ยาง)
แก้บิดมูกเลือด (ดอก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าดอกแดงจะใช้แก้บิดเลือด
(บิดถ่ายเป็นเลือด) ให้นำดอกมาต้มเป็นน้ำชาผสมกับน้ำตาลทรายแดง
ใช้ดื่มตอนท้องว่างวันละ 3 ครั้ง ส่วนดอกเหลืองจะใช้แก้บิดมูก
ให้ใช้ดอกเหลืองหรือส้มที่เป็นดอกแห้ง เข้าใจว่าใช้ต้มเป็นน้ำชาดื่ม
15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้ดอกตากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม
(ยางจากต้นเปลือกต้น[6], ดอก
16. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ราก, เปลือกราก)
17. ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล)
18. ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก, ราก)
19. เมล็ดใช้เป็นยาร่วมกับพิมเสน ใช้รักษาโรคหนองในเรื้อรัง (เมล็ด)
20. ช่วยแก้ระดูตกหนักหรือออกมากเกินไป (ยาง)
21. ช่วยแก้อาการตกโลหิต (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล)
22. ช่วยแก้ไตพิการ ไตชำรุด ไตอักเสบ
ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง นำมาต้มกินต่างน้ำทุกวัน
(หรือจะเอาน้ำต้มจากเปลือกไปหมักเพื่อทำเอนไซม์ก็ได้) (เปลือกต้น)
23. ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต (ผลอ่อน)
24. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ยาง
25. ดอกและรากมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด (ดอก, ราก, เปลือกราก, ยาง)
ส่วนเมล็ดมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือดภายใน (ยาง)
26. รากของต้นอ่อนใช้พอกสมานแผล (เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)
ช่วยฝากสมาน (ยาง)[
27. ใบและยอดอ่อนใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ) ส่วนรากช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล)
หนามช่วยแก้ฝีประคำร้อย (หนาม) และยังช่วยดับพิษฝี แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม,ใบ)
28. ช่วยรักษาแผล ฝีหนอง (ดอก) หากเป็นแผลที่มีหนอง
ให้ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาใช้ชะล้างทำความสะอาดแผล (เปลือกต้น)
29. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เมล็ด)
30. ช่วยแก้อาการคัน (ดอก)
31. ช่วยแก้หัวลำมะลอก (เม็ดที่ขึ้นตามตัวเป็นหนองพุพองมีพิษ), หัวดาวหัวเดือน
(เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก มักขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และนิ้วมือนิ้วเท้า)
(ใบ)
32. ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ราก,ใบ,ผล)
33. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาระงับอาการปวด (ดอก)
34. ใบแห้งหรือใบสดนำมาตำใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ แก้บวม มีอาการอักเสบ (ใบ, ราก, ดอก, ผล)
บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก ด้วยการใช้รากสดนำมาแช่เหล้า ใช้ถูทาหรือตำพอก
(ดอก, เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)
35. ใช้ทาแก้น้ำร้อนลวก (ดอก)
36. ช่วยแก้อัมพาต เอ็นอักเสบ (เปลือกต้น) ใช้แก้คนที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว
(เปลือกต้น)
37. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประของประเทศมาเลเซียใช้ใบสดนำมาแช่กับน้ำต้มอาบเพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อย
(ใบ)
38. เมล็ดใช้เป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ (ยาง)
39. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงิ้วแดง
มีฤทธิ์ในการต้านไทอะมีนและมีผลต่อลำไส้ของหนูตะเภา และช่วยยับยั้งเอดส์
ประโยชน์ของงิ้ว
1. เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้ง ใช้โรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทาน
หรือจะใช้ปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนือก็อร่อยเช่นกันอีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก
โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 429 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ซึ่งสูงกว่านมที่มีแคลเซียมอยู่ประมาณ 123 มิลลิกรัม
ต่อ 100 กรัม
2. เกสรตัวผู้แห้งยังสามารถนำมาใช้แต่งสีของแกงส้มหรือแกงกะหรี่เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทานมากขึ้นได้อีกด้วย
3. ดอกสดใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกและแกงส้ม
4. ดอกใช้ผสมกับข้าวโพดทำเป็นขนมแผ่นรับประทานได้
5. ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
6. รากอ่อนใช้เป็นยาและใช้เป็นอาหารเมื่อยามขาดแคลน
ดอกและยางใช้ทำเป็นยารักษาโรค
7. ใช้ปลูกไม้ประดับในสนามกว้าง ๆ ทั่วไป
ต้นงิ้วมีรูปทรงของลำต้นที่สวยงาม สูงเด่นดูสง่า
เรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี สามารถเพาะปลูกได้ง่าย
เป็นไม้ผลัดใบทั้งต้นให้ดอกสีแดงหรือสีเหลืองทั้งต้น ดอกมีขนาดใหญ่
สีสันสดใสสวยงาม
8. ต้นงิ้วเป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาวหรือเหลืองอ่อน เสี้ยนหยาบ
ไม่ทนทานมากนัก ผุและเปื่อยได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำหีบและลังสำหรับใส่ของ
ใช้ทำไม้อัด ไม้จิ้มฟัน ก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ทำของเล่นเด็ก
ใช้ทำเยื่อกระดาษก็ได้ ส่วนชาวกระเหรี่ยงแดงจะใช้เนื้อไม้สำหรับสร้างบ้าน
หรือนำมาแปรรูปทำไม้แบบหรือไม้ต่อโลงศพ ปราสาทเผาศพ
9. เปลือกต้นให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้
โดยจะมีความเหนียวมากแต่จะแข็งและหยาบ จึงเหมาะที่จะใช้มัดของใหญ่ ๆ
10. ปุยนุ่นของฝักหรือผลแก่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม
ด้วยการนำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน ฯลฯ
11. ใช้ทำชนวนตู้เย็น เข้าใจว่าคือเส้นใยหรือยุ่ยจากฝัก
12. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้ทำสบู่ได้
13. ชาวเหนือและชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะนำเปลือกงิ้วแดงมาทำสี
โดยจะให้สีน้ำเงิน ใช้สำหรับย้อมสีจำพวกผ้าฝ้ายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น