สรรพคุณของมะกา
1.แก่นมีรสขม เป็นยาแก้กระษัย
(แก่น) ส่วนเปลือกต้นมีรสฝาดขม เป็นยาแก้กระษัย แก้พิษกระษัย (เปลือกต้น)
ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้ใบมะกาเป็นยาแก้โรคกระษัย ด้วยการใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก
เถาคันแดง เหง้าสับปะรด และรากต้นเสาให้ อย่างละเท่ากัน
นำมาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เกลือทะเล 1 กำมือ ใช้น้ำยารับประทาน (ใบ)
2.ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)
3.ทั้งห้าส่วนเป็นยาบำรุงโลหิต
(ทั้งห้า)
4.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
5.ช่วยฟอกโลหิต (แก่น)
ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
6.รากและใบเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ)[5]
ส่วนใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)
7.ใบมีรสขมขื่น สรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้
ถ่ายพิษตานซางในเด็ก (ใบ)
8.ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต
(ใบ)
9.ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ
หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ (ใบ) ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน (แก่น)
10.ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
11.เมล็ดทำให้ฟันแน่น (เมล็ด)
12.ช่วยชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ
(ใบ)
13.ช่วยขับลม (ใบ, ทั้งห้า)
14.ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
15.เปลือกต้นใช้กินเป็นยาสมานลำไส้
(เปลือกต้น)
16.ใบสดนำมาปิ้งไฟ
ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน (ใบ)ด้วยการใช้ใบแห้งปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม
นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 15-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอนเป็นยาระบาย (ใบ)
17.ช่วยระบายอุจจาระธาตุ
(แก่น)
18.ช่วยคุมกำเนิด
ช่วยขับระดู แก้มุตกิดของสตรี (ใบ)
19.ช่วยแก้ไตพิการ (แก่น)
20.ช่วยบำรุงน้ำดี (ใบ)
21.ช่วยบำรุงน้ำเหลือง
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ)
22.เปลือกต้นมีรสฝาด
ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
23.ช่วยแก้เหน็บชา (ใบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น