สรรพคุณของขจร
- ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย
(แก่น,
เปลือก)
- ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง
การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
- ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
- รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
- รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1] บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
- ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
- ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
- ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
- ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
- ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
- ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
- ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ข้อควรระวัง ! : ลำต้นเป็นพิษต่อสุกร
ประโยชน์ของขจร
- ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น (ยอดอ่อนคือส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด)
- ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุก ผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า "ขนมดอกขจร" แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีขายแล้ว
- ดอกสวยของขจร นอกจากจะรับประทานเป็นผักได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในงานดอกไม้สด ด้วยการนำไปร้อยอุบะติดชายมาลัยหรือเครื่องแขวนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- เถาของต้นขจรมีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้
- นอกจากจะปลูกเพื่อนำดอกมารับประทานแล้ว ก็ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
- บ้างระบุว่าเนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้
คุณค่าทางโภชนาการของขจรในส่วนที่รับประทานได้
ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 72 แคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 10.6 กรัมสลิด
- โปรตีน 5.0 กรัม
- ไขมัน 1.1 กรัม
- ใยอาหาร 0.8 กรัม
- น้ำ 80.5 กรัม
- เถ้า 1.0 กรัม
- วิตามินเอ 3,000 หน่วยสากล (บ้างว่า 3,150 หน่วยสากล)
- วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.12 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.17 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 68 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 70 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.0 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย.
ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.
แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ขจร (Kha Chon)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 56.
2. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร. “ขจร”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [07 ก.พ. 2014].
3. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร
งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. วิทยาเขตหาดใหญ่. “ขนุนและขจร”.
(ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ).
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [07 ก.พ. 2014].
5. กรุ่นกลิ่นดอกไม้ในโคราช, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
“ขจร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nrru.ac.th. [07 ก.พ. 2014].
6. สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(วว.). “ขจร”.
7. หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “สลิด ขจร (Telosma monor Craib)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.chula.ac.th/thaiplants/. [07 ก.พ. 2014].
8. เดอะแดนดอทคอม. “ดอกขจร”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com. [07 ก.พ. 2014].
9. Tree2go. “ขจร Telosma minor Craib อร่อย”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.tree2go.com.
[07 ก.พ. 2014].
10. มติชนออนไลน์. “ดอกขจร”.
(จอม ณ คลองลึก). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [07 ก.พ. 2014].
11. Medthai.co “ขจร
สรรพคุณและประโยชน์ของดอกขจร 24 ข้อ ! (ผักสลิด, ดอกสลิด)” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ขจร/ [18/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น