สรรพคุณของกระเบา
- ผลใช้รักษามะเร็ง (ผล)
- เมล็ดมีรสเผ็ดร้อนและขม ใช้เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม และไต ใช้เป็นยาขับลม ขับพิษ (เมล็ด)
- ช่วยดับพิษทั้งปวง (รากและเนื้อไม้)
- ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (รากและเนื้อไม้)
- ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
- รากและเนื้อไม้มีรสเบื่อเมา ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนังต่าง ๆ (รากและเนื้อไม้)
- ช่วยรักษาบาดแผล (รากและเนื้อไม้)
- ช่วยแก้พิษบาดแผลสด (ใบ)
- ใบมีรสเบื่อเบา ใช้ฆ่าพยาธิบาดแผล (ใบ)
- ใบใช้แก้กลากเกลื้อน (ใบ)ส่วนเมล็ดก็ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยแก้หิดได้อีกด้วย (เมล็ด)
- ผลและเมล็ดมีรสเมาเบื่อมัน ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง
ๆ (ผล,
เมล็ด) ตำรายาไทยใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ดเพื่อรักษาโรคผิวหนังอื่น
ๆ (เมล็ด) หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 5-10 เมล็ด นำมาแกะเปลือกออก แล้วนำมาตำให้ละเอียด
เติมน้ำมันพืชลงไปพอควรและคลุกให้เข้ากัน จากนั้นก็นำมาใช้ทาแก้โรคผิวหนัง (เมล็ด)
- ผลช่วยรักษาโรคเรื้อน (ผล) ส่วนตำรายาไทยระบุว่าใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ดในการรักษาโรคเรื้อน (เมล็ด)[3] หรือจะใช้น้ำมันจากเมล็ด 3 มล., น้ำ 160 มล., น้ำนมอุ่น 30 มล., น้ำเชื่อม 40 มล. แล้วนำทั้งหมดมาผสมกัน ใช้ดื่มหลังอาหารวันละ 3 เวลาจะช่วยแก้โรคเรื้อนได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
- เมล็ดนำมาหุงเป็นน้ำมันทาภายนอก ใช้สำหรับทาผมและรักษาโรคผมร่วง (เมล็ด)
- ใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ (น้ำมันจากเมล็ด)
- ใช้ปรุงเป็นยารักษาอีสุกอีใส ด้วยการใช้กระเบา 50 กรัมและกระเทียม 20 กรัม นำมาตำผสมกับน้ำ 100
cc. แล้วนำมาต้มให้เดือดนาน 5 นาที
แล้วนำมาใช้ทาแผลตามร่างกาย ซึ่งจากการทดลองในคนไข้จำนวน 50 คน และใช้ทาเพียงครั้งเดียวพบว่าคนไข้ทั้งหมดมีอาการที่ดีขึ้น
(เข้าใจว่าใช้ส่วนของเมล็ด)
- ข้อควรรู้และข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเบา
- กระเบามีฤทธิ์กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ยับยั้งมะเร็ง ยับยั้งมดลูกบีบตัว ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร แก้ไข้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ รักษาวัณโรค รักษาโรคเรื้อน ทำให้อักเสบ
- เมล็ดและใบสดมีสาร Hydrocyanic
acid ส่วนเมล็ดมีน้ำมันระเหยประมาณ 20-25% มีน้ำมันที่เป็น Glycerides oil ของ Chaulmoogric
acid, Cyclopentenylglycine, Hydnocarpic acid, Alepric acid, Aleprolic acid และ Aleprylic acid, Gorlic acid.
- มีรายงานวิจัยระบุว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดกระเบาโดยไม่ใช้ความร้อน จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค
- น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิไส้เดือน กระตุ้นการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง
- น้ำมันจากเมล็ดกระเบาในสมัยก่อนสามารถนำมาใช้รักษาโรคเรื้อนได้ดีนานพอควร และยังใช้รักษาเชื้อราของโรคผิวหนังต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- การใช้สาร Hydnocarpic acid จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเรื้อนได้มากกว่าสาร Chaulmoograte
และหากนำมาใช้ร่วมกับ Chaulmoograte จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเรื้อนได้ดีกว่า
- พิษเฉียบพลันของเมล็ดกระเบา เมื่อนำเมล็ดมาต้มน้ำหรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์แล้วนำไปฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะรู้สึกปวดแสบมาก และยังทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตายด้านอย่างเฉียบพลันอีกด้วย ถ้าหากนำมารับประทานมากเกินไป จะทำให้มีอาการอาเจียนปวดท้อง ปวดลำไส้ ทำให้ไตอักเสบ ปัสสาวะมีโปรตีน และปัสสาวะเป็นเลือด
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ฉีดเข้าในผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ
ซึมผ่านแผล (Direct infusion) ในครั้งแรกให้ใช้ 0.5
มล. ต่อมาให้ใช้ 1 มล. อาทิตย์ละครั้ง
ใช้ฉีดน้ำมันใส่ผม จะช่วยรักษาผิวหนังบนศีรษะ รักษาคุดทะราด
และยังใช้เป็นยาแก้มะเร็ง
- ใบและเมล็ดกระเบาเป็นพิษ (มีสาร Cyanogenetic
glycoside)
- เมล็ดกระเบาส่วนมากจะนำมาใช้เป็นยาภายนอก ถ้าหากต้องการใช้ผสมกับตำราอื่นเพื่อรับประทาน จะต้องมีวิธีการกำจัดพิษในเมล็ดก่อนที่จะนำมาใช้ได้ และห้ามรับประทานเกินจากที่กำหนด
ประโยชน์ของกระเบา
- ผลแก่สุกใช้รับประทานแต่เนื้อในเป็นอาหารได้ เนื้อนุ่ม มีรสหวานมันคล้ายกับเผือกต้ม
- ผลเป็นอาหารของลิงและปลา มีรสชาติมัน และมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แป้ง และน้ำตาล
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงเป็นน้ำมันสำหรับใส่ผมเพื่อรักษาโรคบนหนังศีรษะได้[5]
- น้ำมันจากเมล็ดกระเบา (Chaulmoogra
oil หรือ Hydnocarpus oil) สามารถนำไปดัดแปลงทางเคมีเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก
ยาฉีด หรือยารับประทาน เพื่อใช้บำบัดโรคผิวหนังและช่วยฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
เช่น การนำไปใช้บำบัดโรคเรื้อน โรคเรื้อนกวาง หิด คุดทะราด
โรคผิวหนังผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด รวมไปถึงการนำไปใช้รักษามะเร็งได้อีกด้วย
- ชาวพิจิตรจะใช้เมล็ดกระเบานำมาตำให้ละเอียดให้สุนัขกลืนแบบดิบ ๆ จะช่วยทำให้สุนัขที่เป็นโรคเรื้อนหายเป็นปกติได้จนกว่าจะหมดฤทธิ์ยา (เมล็ดกระเบามีฤทธิ์ทำให้เมาได้ ต้องใช้แต่น้อย)
- เนื้อไม้กระเบามีสีแดงแกมสีน้ำตาลเมื่อตัดใหม่ และนานไปจะเป็นสีน้ำตาลอมสีเทา เนื้อไม้เป็นเสี้ยนตรง เนื้อละเอียดและสม่ำเสมอ มีความแข็ง สามารถผ่าเลื่อยได้ง่าย สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ใช้ทำกระดานพื้นบ้านได้
- กระเบาเป็นต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ ต้นมีเรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบและไม่ผลัดใบ จึงสามารถให้ร่มเงาได้ตลอดทั้งปี และยิ่งในช่วงการแตกใบอ่อนสีชมพูแดงจะให้สีสันสวยงามมาก ส่วนดอกถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีกลิ่นหอมแรง อีกทั้งยังมีผลที่มีขนาดใหญ่ดูคล้ายผลทองแลดูสวยงาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น