สรรพคุณของชะลูด
1. เปลือกเถาชั้นใน มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น
ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เถา, เปลือกเถาชั้นใน)
2. ช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
(เปลือกเถาชั้นใน)
3. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (เนื้อไม้, เปลือกเถาชั้นใน)
4. เถาใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษในเลือดและน้ำเหลือง
(เถา)
5. เถาใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน
แก้อาการอ่อนเพลีย (เถา)
6. เปลือกเถาชั้นใน ใบ และผล
มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการไข้ ส่วนดอกใช้เป็นยารักษาอาการไข้เพ้อคลั่ง
(เปลือกเถาชั้นใน, ใบ, ดอก,
ผล)
7. รากชะลูด ตามตำรายาไทยจะใช้เป็นยารักษาพิษไข้
พิษเสมหะ และลม (ราก)
8. บางข้อมูลระบุว่า รากชะลูด
มีสรรพคุณช่วยแก้อาการใจสั่นหรืออาการหงุดหงิดได้ด้วย (ราก)
9. เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยารักษาลมและยาขับลม
(เนื้อไม้)
10. ช่วยขับผายลม (เปลือกเถาชั้นใน)
11. ช่วยแก้อาการปวดในท้อง แก้ปวดมวนท้อง
(เปลือกเถาชั้นใน)
12. ช่วยบำรุงครรภ์รักษา (เปลือกเถาชั้นใน)
13. ช่วยแก้ดีพิการ (เปลือกเถาชั้นใน)
14. ช่วยแก้อาการปวดบวม (เปลือกเถาชั้นใน)
15. เปลือกชะลูดจัดอยู่ในตำรับ
"ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ”
โดยเป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบของเปลือกชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ
มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน
ช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
16. นอกจากนี้ เปลือกชะลูดยังได้มาจาก
ต้นชะลูดช่อสั้น (Alyxia schlechteri H. Lev.) ซึ่งนอกเหนือจากสรรพคุณที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว
เปลือกของชะลูดทั้งสองจะมีสรรพคุณทางยาและมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้เหมือน ๆ กัน
แต่ดอกชะลูดช่อสั้นจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้สะอึก แก้ดีพิการ แก้ลม
ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ลม แก้พิษไข้ แก้พิษเสมหะ เนื้อต้นใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ช่วยขับผายลม แก้อาการปวดมวนท้องหรือไซ้ท้อง และช่วยขับผายลม ส่วนใบและผล
ใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนใน แก้สะอึก กระสับกระส่าย แก้ดีพิการ แก้คุดทะราด
ตำรับยาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตกขาวแก้เหน็บชา
ใช้เข้ายาแก้กระษัยเส้น แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากการทำงานหนัก
ส่วนตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้รากและเถานำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะลูด
1. เปลือกต้นชะลูดมีสาร alyxialactone,
coumarin, irridoid glycoside, saponin
2. จากการศึกษาพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้และมดลูก
3. การศึกษาทางพิษวิทยา
ด้วยการนำมาทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกชะลูดด้วยเอทานอล 50%
โดยนำมาให้หนูทดลองกินและให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูในขนาด 10
กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 1,613 เท่า
เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ
ประโยชน์ของชะลูด
1. นิยมนำมาปลูกไว้เพื่อนำมาใช้ทำเครื่องหอมและใช้เป็นยาสมุนไพร
2. เปลือกชั้นในยังนำมาใช้ปรุงแต่งผ้าให้มีกลิ่นหอม
ใช้ปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบหรือใช้อบเสื้อผ้า หรือนำมาใช้ทำเป็นเครื่องหอมอื่น ๆ เช่น
ธูปหอม น้ำอบ น้ำปรุง เป็นต้น
3.สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มได้
เพราะดอกมีกลิ่นหอมชื่นใจ โดยสามารถนำมาขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ปักชำ
และตอนกิ่ง เหมาะนำมาปลูกในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง
แต่ต้องมีต้นไม้อื่นหรือเสาให้เลื้อยเกาะ
เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นที่ระบายน้ำได้ดี (คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
แหล่งข้อมูล:
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
“ชะลูด”. หน้า 251-252.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะลูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com.
[12 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะลูดช่อสั้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.
[12 ก.ย. 2014].
4. Medthai.co “ชะลูด
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชะลูด 19 ข้อ !”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ชะลูด/
[15/04/2019]
5. ภาพประกอบ : www.flickr.com
(by Yeoh Yi Shuen), www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual), paro6.dnp.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น