หน้าเว็บ

สะแกวัลย์(ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของติ่งตั่ง
  1. ใบมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร (ใบ)
  2. ใบใช้เป็นยารักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย (ใบ)
  3. รากใช้เป็นยาแก้พิษไข้เด็ก (ราก)
  4. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
  5. เนื้อไม้เป็นยาแก้เบื่อเมา แก้พิษสุราเรื้อรัง (เนื้อไม้)
  6. ใช้เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่น (ใบ)
  7. ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด (ใบ)
  8. ใช้เป็นยาระบายท้อง (ใบ)
  9. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ (ใบ)
  10. ใช้เป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)
  11. ช่วยแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด (เนื้อไม้)
  12. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากติ่งตั่งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค (ราก)
  13. ตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาจะใช้ใบติ่งตั่งเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล (ใบ)
  14. ใบใช้เป็นยาแก้แมลงพิษกัดต่อย (ใบ)  ส่วนรากใช้เป็นยาแก้พิษงู (ราก)
  15. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นและรากติ่งตั่ง ผสมกับลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ และลำต้นหนาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้นและราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของติ่งตั่ง

  • ดอกติ่งตั่งมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

ประโยชน์ของติ่งตั่ง
  1. ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสานได้
  2. เครือติ่งตั่งมีเนื้อไม้เหนียว สามารถนำมาใช้ทำขอบกระบวยวิดน้ำสำหรับตักน้ำรดน้ำผักหรือขอบเครื่องจักสาน ทำด้ามมีด เครื่องใช้สอย

แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “ติ่งตั่ง”.  หน้า 98.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “งวงสุ่ม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [15 ธ.ค. 2014].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ติ่งตั่ง, ข้าวตองแตก”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [15 ธ.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ติ่งตั่ง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [15 ธ.ค. 2014].
5. หนังสือพืชพื้นเมือง : ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาวจังหวัดลำพูน.  (ทรรศนีย์ พัฒนเสรี, ชูจิตร อนันตโชค).  “ติ่งตั่ง”.  หน้า 23.
6. สงขลาพอร์ทัล.  (เวสท์สงขลา).  “ข้าวตอกแตก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.songkhlaportal.com.  [15 ธ.ค. 2014].
7. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Dinesh Valke, cpmkutty, Shubhada Nikharge, Lalithamba)
8. Medthai.co “ติ่งตั่ง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นติ่งตั่ง 17 ข้อ ! (งวงสุ่ม)”  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ติ่งตั่ง/ [19/04/2019]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น