หน้าเว็บ

อบเชย (ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของอบเชย
1.เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสเผ็ด หวานชุ่ม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนออกฤทธิ์ต่อไต ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
2.เปลือกต้นใช้ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น)
3.ช่วยบำรุงดวงจิต บำรุงธาตุ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น) ส่วนใบอบเชยต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง (ใบอบเชยไทย)
4.รากอบเชยเทศ มีสรรพคุณช่วยปลุกธาตุให้เจริญ แก้พิษร้อน ส่วนเปลือกต้นอบเชยเทศมีสรรพคุณปลุกธาตุอันดับให้เจริญ (เปลือกต้นอบเชยเทศ,รากอบเชยเทศ)
5.อบเชยจีนมีรสเผ็ดอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน ช่วยบำรุงธาตุไฟในระบบไต ตับ ม้าม และหัวใจ (เปลือกต้นอบเชยจีน)
6.อบเชยสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ด้วยการใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไปที่เป็นแท่งนำมาบด โดยให้ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (เปลือกต้น)
7.ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์รับประทานแก้เบื่ออาหาร (เปลือกต้น) เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ และช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้นอบเชยไทย)
8.อบเชยมีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลินทำให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด สมุนไพรอบเชยจึงเหมาะสมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม โดยให้แบ่งการรับประทานออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1 แต่สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล (เปลือกของกิ่ง)
 9.ช่วยย่อยสลายไขมัน ควบคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มีระดับต่ำลง (เปลือกต้น)
10.ช่วยต้านมะเร็ง เพราะมสารคลีเซอไรซินเข้มข้น (เปลือกต้น
11.เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ (เปลือกต้น) เมล็ดนำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินเป็นยาแก้ไอ (เมล็ดอบเชยไทย)
12.รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ (รากและใบอบเชยไทย)
13.ช่วยแก้ไอเย็น หืดหอบเนื่องมาจากลมเย็นกระทบ (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
14.ตำรับยาแก้อาการไอหอบหืด ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
15.เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน (เปลือกต้น) ส่วนใบสามารถนำมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนได้เช่นกัน (ใบอบเชยไทย)
16.ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เปลือกต้น)
17.รากใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (รากอบเชยไทย)
18.เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาน้ำ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย (เปลือกต้น) ส่วนใบใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้จุกเสียดแน่นท้องและลงท้อง (ใบอบเชยต้น)
19.ช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเสีย แก้ท้องเสียในเด็ก แก้บิด ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ลำไส้อักเสบ (เปลือกต้น) เมล็ดอบเชยไทย นำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้งให้เด็กกินเป็นยาแก้บิด (เมล็ดอบเชยไทย)
20.เปลือกต้นใช้แทน Cinnamon เคี้ยวกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เปลือกต้นอบเชยไทย)
21.ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (เปลือกต้น
22.แก้โรคกระเพาะ ปวดกระเพาะหรือถ่าย เนื่องจากลมเย็นชื้นหรือลมเย็นที่ทำให้มีอาการปวดและท้องเสีย ให้ใช้อบเชยจีน 2-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
23.ยาชงจากเปลือกต้น ใช้กินเป็นยาถ่าย (เปลือกต้นอบเชยไทย)
ดอกอบเชยไทย
24.ช่วยขับพยาธิ (เปลือกต้น)
25.ช่วยขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
26.ช่วยแก้ไตหย่อน ปัสสาวะไม่รู้ตัว หรือปัสสาวะบ่อย ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
27.เปลือกนำมาต้มหรือทำเป็นผง ใช้แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา (เปลือกต้นอบเชยไทย)
28.เปลือกต้นนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยรักษาแผลกามโรค (เปลือกต้น)
29.ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (เปลือกต้น)
30.รากนำมาต้มให้สตรีกินหลังการคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด (รากอบเชยไทย
31.น้ำต้มเปลือกต้นใช้ดื่มเป็นยาแก้ตับอักเสบ (เปลือกต้น)
32.เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น)
33.ใบอบเชยเทศมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อ (ใบอบเชยเทศ)
34.น้ำมันอบเชยเทศมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา แต่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง (เข้าใจว่าคือน้ำมันจากเปลือกต้น)
35.น้ำยางจากใบใช้เป็นยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง (ใบอบเชยไทย)
36.ใบใช้ตำเป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม (ใบอบเชยไทย)
37.ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอวเนื่องจากไตหย่อน ไม่มีกำลัง แก้ปวดตามข้อ ปวดตามบ่าหรือไหล่ (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
38.คนเมืองจะใช้รากอบเชยไทย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (รากอบเชยไทย)
39.ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์ (เปลือกต้น
40.รากมีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (รากอบเชยเทศ)
41.อบเชยจัดอยู่ในพิกัดยาไทยร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ หลายตำรับ ได้แก่ พิกัดตรีธาตุ (เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้ไข้ แก้เสมหะ), พิกัดตรีทิพย์รส (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ), พิกัดจตุวาตะผล (เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง แก้ตรีสมุฏฐาน), พิกัดทศกุลาผล (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้เสมหะ บำรุงปอด ขับลมในลำไส้ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นต้น

หมายเหตุ : ตำรายาไทยจะใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับอบเชยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ[2] อบเชยเทศมีสรรพคุณทางยาเหมือนอบเชยจีน



ข้อห้ามในการใช้อบเชย
1.ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อน ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด อุจจาระแข็งแห้ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานอบเชย และห้ามกินน้ำมันอบเชน เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและเป็นอันตรายต่อไตได้
2.อบเชยจีนเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมาก ๆ หรือไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำในฉลาดหรือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากอบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในในระยะยาวก็อาจมีปัญหาต่อตับได้
อบเชยชวา
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอบเชย
1.เปลือกต้นอบเชยจีนพบน้ำมันระเหยประมาณ 1-2% ในน้ำมันระเหยพบสารหลายชนิด เช่น Cinnamic aldehyde, Cinnamyl acetate, Phenyl-propyl acetate, Tannin, Latax และยาง เป็นต้น[3] ในน้ำมันหอมระเหยสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ Cinnamic aldehyde ประมาณ 51-76% และพบ eugenol เล็กน้อยประมาณ 5-18%
2.สารสำคัญที่พบ สารที่ใช้บำบัดรักษาโรคเบาหวาน คือ เมธิลไฮดรอกซี่ ชาลโคน โพลิเมอร์ (Methylhydroxy Chalcone Polymer - MHCP) ซึ่งเป็นชาลโคนชนิดแรกที่พบในอบเชยอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) หรือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ อีก เช่น coumarin, cinnamaldehyde, cinnamic acid, ocimene, linalool, terpinene, vanillin เป็นต้น
3.อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และกระเพาะอาหาร ต้านออกซิเดชัน มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านมะเร็งเม็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและต้านการอักเสบ ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นในหนูทดลอง
4.อบเชยมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปากมดลูก สามารถยับยั้งการเจริญและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งตับได้ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งผิวหนัง
5.สารสำคัญในอบเชยจีนมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสู
6.อบเชยมีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
7.น้ำมันระเหยจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดขยาดตัว จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น
8.คุณสมบัติเด่นของอบเชยจีนคือความสามารถในการระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีการศึกษามากมายที่ระบุค่อนข้างแน่ชัดว่าอบเชยจีนสามารถต้านโรคเบาหวานได
9.ผลของอบเชยและขมิ้นต่อระดับ Oxalate ไขมัน และน้ำตาลในเลือด อบเชยและขมิ้นมีสาร Oxalate สูง ซึ่งการรับประทานสารดังกล่าวในปริมาณมากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ซึ่งจากการศึกษาทางคลินิกแบบ Crossover กับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 11 ราย แบ่งเป็นชาย 4 คน และหญิง 7 คน มีอายุตั้งแต่ 21-38 ปี เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้ได้รับอบเชยในขนาด 3 กรัมต่อวัน จำนวน 6 ราย หรือได้รับขมิ้น 2.8 กรัมต่อวัน จำนวน 5 ราย โดยให้รับประทานพร้อมกับอาหารเช้า อาหารกลาง และที่เหลือให้รับประทานในมื้อเย็น (อาสาสมัครจะได้รับสาร Oxalate จากอบเชยหรือขมิ้นวันละประมาณ 55 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นมีการปรับขนาด โดยให้รับอบเชยในขนาด 3.5 กรัมต่อวัน หรือได้รับขมิ้นวันละ 3.2 กรัมต่อวัน (อาสาสมัครจะได้รับสาร Oxalate จากอบเชยหรือขมิ้นวันละประมาณ 63 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า อบเชยและขมิ้นในขนาดดังกล่าว ไม่มีผลต่อระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด แต่ช่วงที่อาสาสมัครได้รับขมิ้นจะมีการขับสาร Oxalate ออกมาทางปัสสาวะสูง เมื่อเทียบกับช่วงที่ได้รับอบเชยหรือยาหลอก จากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการได้รับขมิ้นในปริมาณมาก อาจเป็นสาเหตุให้เกิดนิ่วในไตได้
10.เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศจีน พบว่าอบเชยสามารถช่วยทำให้การสลายลิ่มเลือด ขยายหยอดเลือด การไหลเวียนของเลือด และลดไขมันกับความหนืดของเลือดให้ดีขึ้นได้ และอบเชยยังสามารถนำมาใช้รักษาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นของการเกิดลิ่มเลือดและเซลล์สมองฝ่อได้ ตัวยานี้จะส่งผลในการเปลี่ยนแปลงและผลของฤทธิ์ยาต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เป็นยาระบายเอาของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ยาจะส่งผลได้ดรในการลดไขมันในเลือด โดยลดได้ถึง 94% และยังส่งผลในการรักษาการขาดแคลนโลหิตที่มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 89% และลดการเกิดลิ่มเลือดที่เกิดจากไขมันในเลือดสูงได้ถึง 80% อีกทั้งการสกัดและการเตรียมยาก็ง่ายและมีประสิทธิภาพในการรักษา
11.เมื่อปี ค.ศ.2006 ที่ประเทศจีน กระบวนการเตรียมและการสกัดยาจากอบเชยนั้น สามารถทำได้โดยการแช่อบเชยสดในน้ำสะอาดแล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางประมาณ 20 นาที และกรองเอากากออก น้ำยาที่ได้จะช่วยรักษาไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และราคาถูก ถ้าสามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้เอง
12.เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจีน ได้สรุปผลการทดลองว่า อบเชยนั้นสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาในการรักษาโรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคทางประสาท โรคปัสสาวะขัด และโรคต่อมลูกหมากโตได้
13.จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าอบเชยสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ และจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าอบเชยนอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นได้ โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดเลว และไตรกลีเซอไรด์
14.น้ำมันระเหยจากเปลือกต้นมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะลำไส้ ให้มีการบีบตัวแรงขึ้น ทำให้มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการช่วยขับลมในกระเพาะลำไส้ และยังมีฤทธิ์คล้ายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะลำไส้ จึงสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได
15.อบเชยมีฤทธิ์บรรเทาการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูทดลองซึ่งกลไกการทำงานยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับการหลั่งเมือกของกระเพาะที่ถูกกระตุ้นโดยเซโรโทนิน
16.สารสกัดจากอบเชยจีนด้วยน้ำมีคุณสมบัติต้านการอักเสบที่เกิดจากการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป เช่น การแพ้ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หลอดเลือดอักเสบที่ผิวหนัง การอักเสบบวมแดงเฉพาะที่ ภาวะไตอักเสบ ซึ่งกลไกในการต้านการอักเสบส่วนหนึ่งนั้นมาจากความสามารถในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ของเซลล์ภูมิคุ้มกัน
17.จากการศึกษาที่อินเดียพบว่า สารสกัดจากเปลือกอบเชยจีน มีความสามารถในการต้านไวรัส HIV ได้ และยังมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่
18.น้ำมันหอมระเหยในอบเชยจีนมีความสามารถในการต้านจุลชีพ ได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และยีสต์ และยังช่วยยับยั้งการเจริญและกิจกรรมของแบคทีเรีย Helicobactor pyroli ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร
19.จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าในอัตราส่วนขนาดสูงสุดที่ทำให้หนูขาวทนได้ (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.16 กรัมต่อกิโลกรัม
20.จากการศึกษาทางพิษวิทยา ด้วยการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกอบเชยญวนด้วยเอทานอล 50% แล้วนำมาให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 926 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ
อบเชยเทศ
ประโยชน์ของต้นอบเชย
1.เปลือกต้นใช้เป็นเครื่องเทศ ยาขับลม แต่งกลิ่น บดให้เป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร ใส่ในเครื่องสำอาง น้ำมันจากเปลือกไม้ต้นใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ลูกวาด ขนมหวาน เหล้า รวมไปถึงเภสัชภัณฑ์ สบู่ ยาเตรียมที่ใช้สำหรับช่องปาก ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาขับลม ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและกันบูด เป็นต้นส่วนเปลือกอบเชยชวามักนำมาใช้ผสมเครื่องแกงมัสมั่น และแต่งกลิ่นข้าวหมกไก่
2.เปลือกต้นอบเชยเมื่อนำมาย่างไฟจะมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใส่ในแกงมัสมั่นและอาการประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพื่อลดความคาว หรือจะลองหาผงอบเชยมาเหยาะลงในอาหารหรือเครื่องดื่มก็ได้ อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ แซนด์วิช ก็ได้ แล้วแต่จะดัดแปลงสูตร
3.ใบอบเชยเทศมีน้ำมัน ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แต่งกลิ่นสบู่ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตน้ำหอม ใช้เป็นแหลงของสารยูจีนอลเพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นสารวานิลลิน ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อ
4.ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่จะใช้เปลือกต้นอบเชยไทยนำมาตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก
5.ชาวม้งจะใช้เปลือกไม้ของอบเชยไทย นำไปตากแห้งแล้วตำให้เป็นผง นำไปทำธูป มีกลิ่นหอม
6.เนื้อไม้อบเชยไทยมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อไม้หยาบและค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันแมลง ทำเครื่องเรือน หรือทำไม้บุผนังที่สวยงามได้
7.สำหรับเรื่องสิว อบเชยก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ด้วยการใช้ผงอบเชย 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำผึ้ง 3 ช้อนชา แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นนำมาป้ายลงบนหัวสิวก่อนเข้านอน แล้วค่อยล้างออกในตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น โดยให้ทำติดต่อกัน 2 สัปดาห์ สิวจะค่อย ๆ หมดไป (ข้อมูลจาก Woman plus)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น