สรรพคุณของมะกอกเกลื้อน
1.ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้มะกอกเกลื้อนทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ
ช่วยบำรุงร่างกายให้มีกำลังแข็งแรง (ทั้งต้น)
2.ตำรายาไทยจะใช้ผลนำมารับประทานเป็นยาแก้ไอ
หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด
แล้วนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ (ผล)
3.ผลใช้รับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ
น้ำลายเหนียว หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน
ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกิน (ผล)
4.ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นมะกอกเกลื้อนเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
(เปลือกต้น)
5.แก่นมีรสเฝื่อนใช้เป็นยาแก้โลหิตระดูพิการ
(แก่น)
6.ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการคัน
ตุ่มคันหรือเม็ดผื่นคัน (ยาง)
7.แก่นใช้เป็นยาแก้ประดง
(อาการของโรคผิวหนังที่เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมากและมักมีไข้ร่วมด้วย)
(แก่น)
ประโยชน์ของมะกอกเกลื้อน
2.เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน
ใช้รับประทานได้
3.ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม
4.เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำโครงสร้างต่าง
ๆ ของบ้านได้ เช่น หน้าต่าง ประตู กระดาน พื้น ฝา เครื่องมือเครื่องใช้ภายในร่ม
ทำก้านและกลัดไม้ขีดไฟ ทำพิณ ฯลฯ[5]
(ในปัจจุบันไม้มะกอกเกลื้อนจัดเป็นไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก.
5.ต้นมะกอกเกลื้อนเป็นไม้โตเร็ว
จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้เบิกนำในการปลูกป่า เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งหักง่าย
และก่อให้เกิดโพรงเมื่อฝนตกลงมา ทำให้น้ำฝนมาขังอยู่ในโพรงตลอดปี
ชาวอีสานจะเรียกโพรงนี้ว่า "สร้างนก" ซึ่งหมายถึงแอ่งน้ำสำหรับนก
ที่ทำให้นกมีน้ำกินตลอดทั้งปีฟ
6.นอกจากนี้หมอยาบางท่านยังใช้น้ำที่ได้จาก
"สร้างนก" ไปทำเป็นน้ำกระสายยาอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น