สรรพคุณของฝาง
1.เนื้อไม้และแก่นเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้, แก่น)
2.เมล็ดแก่แห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้
(เมล็ด)
3.เปลือกลำต้นและเนื้อไม้
สามารถนำมาใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรคได้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
4.ตำรับยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี แก้ประดง ระบุให้ใช้แก่นฝาง
แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกิน (แก่น)
5.ตำรับยาบำรุงกำลังระบุให้ใช้แก่นตากแห้งผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง
ตานเหลือง ข้าวหลามดง โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ม้ากระทืบโรง มะตันขอ ไม้มะดูก
หัวข้าวเย็น และลำต้นฮ่อสะพายควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (แก่น)
หรืออีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง กำลังช้างสาร ม้ากระทืบโรง
และรากกระจ้อนเน่าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง
1 บาท, ดอกคำไทย 2 สลึงนำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เอา 1 แก้ว ใช้แบ่งกินเช้า, เย็นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย และแก้กษัย (แก่น)
6.ตำรับยาแก้กษัยระบุให้ใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง
และรากเตยอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน
หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)
7.แก่นฝางมีรสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ
ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี (แก่น)
8.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน
กระจายเลือดที่อุดตัน แก้อาการหัวใจขาดเลือด ทำให้จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก
(แก่น)
9.ช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น (แก่น)
10.แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน (แก่น)ตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน
ระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า
30 กรัม, และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม
นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลวแล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้กินครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2
ครั้ง (แก่น บ้างว่าใช้แก้ไข้สัมประชวรได้ด้วย (แก่น)
11.ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูระบุให้ใช้ฝางเสน เกสรบัวหลวง แก่นสน
รากลำเจียก รากมะพร้าว รากมะนาว รากเท้ายายม่อม รากย่านาง ดอกบุนนาค ดอกมะลิ
ดอกพิกุล ดอกสารภี จันทน์ขาว จันทน์แดง สักขี อย่างละ 1 บาท นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อน
ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา โดยให้จิบบ่อย ๆ จนกว่าไข้จะสงบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
12.น้ำต้มแก่นฝางช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี (แก่น)
เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ร้อนใน (เนื้อไม้)
13.แก่นและเนื้อไม้มีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ (เนื้อไม้, แก่น)
14.ช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (แก่น) ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3
บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร
ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อยแล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3
เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้ (แก่น)[16]
ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไอ ไอแบบเป็นหวัดและเจ็บคอ ไอแบบคอแห้ง
หรือไอแบบหอบหืด และผู้ที่ไอจากวัณโรคก็บรรเทาได้เช่นกัน
รวมไปถึงอาหารปอดหรือหลอดลมอักเสบก็จิบยาแก้ไอขนานนี้ได้ โดยตำรับยาแก้ไอฝาง
ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ฝาง 200 กรัม, พริกไทยร่อน 200
กรัม, กานพลู 50 กรัม, สารส้ม 50 กรัม, การบูร 25 กรัม, เมนทอล 25 กรัม, เปลือกหอยแครงแล้วทำเป็นปูนขาว 15 กรัม, ดีน้ำตาลหรือใช้น้ำตาล
2.5 กรัม และน้ำสะอาด 5 ลิตร ส่วนวิธีการปรุงยาให้นำเนื้อไม้ฝางมาสับเป็นซี่เล็ก ๆ
คล้ายไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 15-30 นาที และสำหรับส่วนผสมอื่น
ๆ ให้นำมาตำให้ละเอียด เก็บใส่ไว้ในโหลก่อน
จากนั้นนำน้ำยาต้มฝางที่รอจนอุ่นแล้วมาทาใส่ลงในโหลที่มีตัวยาอื่น ๆ ผสมอยู่
และให้แช่ยานี้ไว้ประมาณ 2-3 วัน (คนยาวันละ 3 ครั้ง)
เมื่อครบวันแล้วให้กรองเอาเฉพาะน้ำยามาเก็บไว้ใส่ขวดที่สะอาด
เก็บไว้จิบกินตอนมีอาการไอ (ยาแก้ไอฝางสูตรนี้ไม่ควรกินต่อเนื่องกันนานจนเกินไป
เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนศีรษะและมีความดันต่ำได้
ดังนั้นเมื่อกินจนอาการไอหายแล้วก็ให้หยุดกิน) (เนื้อไม้)
15.ช่วยแก้โรคหืดหอบได้ด้วย (แก่น) ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางเสน, แก่นแสมสาร, เถาวัลย์เปรียง, ใบมะคำไก่ อย่างละ 2 บาท 2 สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือด 10
นาที นำมากินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น พอวันต่อมาให้เติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด 5
นาทีแล้วกิน16.เหมือนวันแรก ต้มกินจนยาจืดประมาณ 5 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนยาใหม่ โดยให้ต้มกินไปเรื่อย
ๆ จนกว่าจะหาย (แก่น)
17.ช่วยแก้ปอดพิการ (แก่น)
18.ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ฝาดสมานโรคท้องร่วง
ตำรายาไทยระบุให้ใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 500 มิลลิเมตร
แล้วเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้ฝาง 1 ส่วนต่อน้ำ
20 ส่วน นำไปต้มเคี่ยว 15 นาที ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะหรือ 4-8
ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เนื้อไม้, แก่น)
ส่วนน้ำมันหอมระเหยมี111สรรพคุณเป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้อาการท้องเดิน
(น้ำมันระเหย)
19.ช่วยแก้บิด (แก่น)
20.ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (แก่น)
21.แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับแก่นต้นคูน รากมะเดือยหิน
หญ้าถอดปล้อง และใบสับปะรด (แก่น)
22.ช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น ด้วยการใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตย
อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้
(แก่น)
23.ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก
(เนื้อไม้, แก่น)
24.ฝางนิยมใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี
เนื่องจากช่วยทำให้เลือดดี เช่น ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ด้วยการใช้ฝางเสนหนัก 4
บาทและแก่นขี้เหล็ก 2 บาท นำมาต้มกินก่อนประจำเดือนจำมา
จะช่วยทำให้ประจำเดือนไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ ช่วยแก้พิษโลหิตร้าย
เป็นยาขับประจำเดือน และบำรุงโลหิต (แก่น)
25.แก่นใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
ช่วยขับระดู (แก่น) ส่วนเนื้อไม้เป็นยาขับระดูอย่างแรง (เนื้อไม้)[1],[3] ตำรายาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนปิดกั้นไม่มา
ให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า
30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว
แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้ดื่มครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)
ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้แก่น 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว
เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรก (ไม่รวมเมล็ด) ประมาณ 4-6 ฝัก แล้วนำไปเคี่ยวจนเหลือ
1 แก้ว ใช้กินเช้าและเย็น (แก่น) และอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเปลือกลำต้นและเนื้อไม้
เป็นยาแก้ท้องเสียและแก้อาการอักเสบในลำไส้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
26.ช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร (แก่น)
27.ช่วยคุมกำเนิด (แก่น)
28.ช่วยแก้ดีและโลหิต (เนื้อไม้)
29.ช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ (แก่น)
30.ช่วยแก้คุดทะราด (แก่น)
31.ช่วยรักษามะเร็งเพลิง (แก่น)
32.ใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
33.แก่นฝางนำมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้
(แก่น)
34.ช่วยแก้น้ำกัดเท้า ด้วยการใช้แก่นฝาง 2
ชิ้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า
จะช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผลได้ (แก่น)
35.แก่นใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน
(แก่น)[1],[7],[10]
ตำรายาแก้ฟกช้ำ ระบุให้ใช้แก่นฝาง 60 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้า แบ่งกิน 3
ครั้ง ใช้กินตอนท้องว่าง (แก่น)
36.ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (แก่น)[1]
ตามตำรายาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม
นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้รับประทานครั้งละ 30 ซีซี
วันละ 2 ครั้ง (แก่น)
37.กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง
แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (กิ่ง)
38.เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี
(เนื้อไม้)
39.เนื้อไม้ใช้ผสมกับปูนขาว นำมาบดใช้ทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะ
และช่วยลดอาการเจ็บปวด (เนื้อไม้)
40.ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำรับยาที่ใช้แก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ
โดยประกอบไปด้วยเครื่องยา 2 สิ่ง คือ ฝางเสนและเปลือกมะขามป้อมอย่างละเท่ากัน
นำมาต้มกับน้ำ 4 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน
ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียอย่างแรงและเป็นยาแก้บิด (แก่น)
41.นอกจากนี้ยังใช้ฝางในการรักษาโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคประดง โรคไต
ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ
และฝางยังเป็นสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรับยาโบราณมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น ยาหอมอินทจักร
ยาจันทลีลา อยู่ในตำรับยาบำรุงโลหิตต่าง ๆ
รวมไปถึงตำรับยาบำรุงโลหิตของสตรีจะขาดฝางเสียไม่ได้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นฝาง
-แก่นฝางพบน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบไปด้วยสาร (a-l-phellandrene) และ (Oeimene) พบสาร brasilein, brazilin (สารที่ให้สีชมพูอมส้มถึงแดง หรือ sappan red), phellandrene, ocimene, sappanin, tannin
-ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าแก่นฝางมีสารในกลุ่ม flavonoid ชนิด 7-hydroxy-3-(4’-hydroxybenzylidene)-chroman-4-one,
3,7-dihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-chroman-4-one, 3,4,7-trihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-chroman, 4,4’-dihydroxy-2’-methoxychalcone, 8-methoxybouducellin,
quercetin, rhamnetin และสารในกลุ่ม sterols
ชนิด beta-sitosterol 69.9%, campesterol มี brazilin, brazilein, protosappanin E และ taraxerol 11.2% และ stigmasterol 18.9% และ ombuin
-เมื่อนำน้ำต้มจากแก่นฝางให้กระต่ายทดลองกิน
พบว่าจะทำให้กระต่ายมีอาการหลับได้สนิทขึ้น
และหากนำน้ำต้มจากฝางเสนมาฉีดเข้าผิวหนังของหนูหรือกระต่ายทดลอง
พบว่าจะทำให้หนูหรือกระต่ายมีการหลับสนิทได้เหมือนกัน
และยังพบว่ามีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดของกบหดตัวได้อีกด้วย
-สาร Brazilin มีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ
ซึ่งในประเทศฮังการีมีรายงานว่า มีการใช้รักษาโรคหัวใจกบที่ถูกสารพิษเป็นผลสำเร็จ
และสารนี้ไม่มีอันตราย แม้จะดื่มเข้าไปมากก็ไม่เกิดการสะสมตกค้างในร่างกาย
-สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดของหลอดเลือดใหญ่ที่ตัดมาจากช่องอกของหนูแรท
ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 10 ม.ค.ก./ม.ล.
-สาร Hematein ที่แยกได้จากแก่นฝางสามารถช่วยลดการสะสมของไขมันบริเวณผิวหนังของหลอดเลือดกระต่ายทดลองได้
--สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมทานอล, เมทานอล-น้ำ
(1:1) และน้ำ สามารถช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ human
HT-1080 fibrosarcoma cell โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ
15.8 , 13.8 และ 17.8 ม.ค.ก./ม.ล ตามลำดับ
-สาร Brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝางมีฤทธิ์ในการระงับอาการอักเสบได้ดี
จึงมีผลทำให้ระงับอาการหอบหืดด้วย อีกทั้งสารนี้ยังช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้าง Histamine จึงน่าจะช่วยป้องกันโรคหืดได้
-น้ำต้มจากแก่น
เมื่อนำมาให้หนูขาวทดลองกินหรือฉีดเข้าไปในตัวของหนูขาว
พบว่าจะสามารถเพิ่มการขับปัสสาวะของสัตว์ทดลองได้
แต่ถ้าให้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ไม่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาว
-สารที่สกัดได้จากแก่นฝางสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของหนูทดลองที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนได้
-สาร brazilin ที่แยกได้จากสารสกัดแก่นฝางด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เท้าบวมได้
โดยการฉีด carrageenin ในขนาดใช้ 10
กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
-สารสกัดจากเนื้อไม้ฝางด้วยเอทานอล 70%
สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus
aureus, Shigella flexneri, Vibrio cholerae และ Vibrio parahaemolyticus ที่ความเข้มข้น 5 ม.ก.
และสารสกัดจากเนื้อไม้ฝางด้วยเอทานอล 95% สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia coli และ Shigella
dysenteriae ได้ที่ความเข้มข้น 100 ม.ก.
-สาร Sappanin ในแก่นฝางมีฤทธิ์ในการระงับเชื้อโรคได้
-เมื่อนำฝางเสนมาแช่ในแอลกอฮอล์จะได้น้ำยาสกัดแอลกอฮอล์ที่มีสาร Brazilin ละลายอยู่
โดยน้ำยานี้สามารถช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้สูง เชื้อ Staphylococcus และโรคท้องร่วงระบาดได้[
-นอกจากจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา
เชื้อไวรัส ยีสต์ ช่วยยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการแพ้ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันยับยั้งการงอกของพืชอื่น
ๆ ลดอาการอักเสบ เสริมฤทธิ์ของบาร์บิทูเรต ช่วยยับยั้ง hepatitis B surface antige ตกตะกอนน้ำอสุจิ
ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
-การฉีดสารสกัดจากลำต้นของฝางแดงด้วย 50%
เอทานอลเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูทดลองตาย 50% เท่ากับ
750 มก./กก. ซึ่งถือได้ว่าสารสกัดจากลำต้นของฝางแดงค่อนข้างมีความเป็นพิษ
(ไม่แน่ใจว่ารวมไปถึงฝางเสนด้วยหรือไม่)
ประโยชน์ของฝาง
1.ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งแก่นำไปต้มกินเป็นน้ำชา
2.ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง
มีทั้งในรูปแบบพร้อมดื่มและแบบชง โดยช่วยบรรเทาอาการร้อนใน แก้เสมหะ บำรุงโลหิต
แก้เลือดกำเดา
3.แก่นไม้เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับใบเตยหรือผลมะตูม
จะช่วยให้มีสีสันสวยงาม
4.น้ำต้มจากแก่นฝางแดงจะให้สีแดงที่เรียกว่า Sappanin นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาอุทัย
ผสมในน้ำดื่ม สีผสมอาหาร และนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์[1],[4],[10] ส่วนฝางส้มจะนำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสีนิวเคลียสของเซลล์
5.นอกจากจะใช้เนื้อไม้ในการย้อมสีแล้ว
ยังนำมาทำเป็นสีทาตัวสำหรับงานเทศกาลในอินเดียอีกด้วย
ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื้อไม้ของต้นฝางถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
เป็นเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง รวมทั้งเคยเป็นสินค้าผูกขาดของรัฐอย่างหนึ่ง
6.รากของต้นฝางจะให้สีเหลืองที่ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหมได้
หรืออาจใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ได้
7.ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้แก่นของต้นฝาง (ที่เหลาเป็นไม้จิ้มฟัน)
ไปตอกลงบนต้นขนุนจนถึงเนื้อไม้ จะไปกระตุ้นให้ขนุนติดลูกบริเวณที่เราตอกลงไป
8.เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนชั้นดี ตกแต่งชักเงาได้ดี โดยสีของเนื้อไม้จะออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
9.ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา
(เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก)
แต่ต้องหมั่นตัดกิ่งที่เลื้อยพันออกเพื่อให้เป็นทรงตามต้องการ
เมื่อออกดอกจะออกดอกดกสีเหลืองงามอร่ามเด่นชัด และยังนิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามชนบท
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฝาง
ฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
จึงไม่ควรนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น