หน้าเว็บ

หมี่ (ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของหมี่
1.ตำรายาไทยจะใช้รากต้นหมี่เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
2.รากใช้เป็นยาแก้ไข้ออกฝีเครือ (ราก)
3.เปลือกสดใช้อมแก้ปวดฟัน แก้ปากเหม็น (เปลือกต้น)
4.ช่วยแก้ลมเป็นก้อนในท้อง (ราก)
5.รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการท้องอืด ท้องร่วง (ราก)
6.เปลือกต้นมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องเสีย (เปลือกต้น)
7.ใบมีสรรพคุณเป็นยาปัสสาวะ (ใบ)
8.ช่วยแก้ริดสีดวงแตก (ราก)
9.เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดมดลูกของสตรี (เปลือกต้น)
10.ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (ต้น)
11.รากและเปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน (ราก, เปลือกต้น) ใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ) ส่วนยางใช้ตำพอกปิดทาแผล (ยาง)
12.เปลือกต้นนำมาบดให้เป็นผงใช้ผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ และเป็นยาห้ามเลือด (เปลือกต้น)
13.ใช้แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง (ใบ)
14.ใบสดใช้ขยี้ทารักษากลากเกลื้อน (ใบ)
15.เปลือกต้นใช้ฝนทาแก้ผื่นคัน แสบร้อน (เปลือกต้น)
16.ใบและเมล็ดมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ตำพอกรักษาฝี แก้ปวด (ใบและเมล็ด) ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้เปลือกต้นหรือรากผสมกับเมล็ดหรือผลน้อยหน่าที่แห้งคาต้น ฝนกับน้ำทารอบฝีให้รัดหนองออกมา (เปลือกต้น, ราก)[5] ส่วนตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดอำนาจเจริญจะใช้รากต้นหมี่นำมาฝนทารักษาฝี (ราก)
17.เปลือกต้นใช้ฝนทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (เปลือกต้น)[3] ส่วนใบใช้ขยี้ทาแก้พิษแมงมุม (ใบ)
18.ใบใช้เป็นยาถอนพิษร้อน (ใบ)
19.เมล็ดใช้เป็นยาถอนพิษอักเสบต่าง ๆ (เมล็ด)
20.ยางมีรสฝาดร้อน ใช้ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม (ยาง)
21.รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ (ราก) เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยแก้อาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ (เปลือกต้น)[1],[2],[3] ส่วนผลดิบให้น้ำมันที่สามารถนำมาใช้เป็นยาถูนวดแก้ปวดได้ (ผลดิบ)
22.ช่วยถ่ายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นอ่อน (เปลือกต้น)
23.บางท้องถิ่นจะนำรากมาตากให้แห้ง ดองกับเหล้าขาว กินเป็นยาแก้โรคเลือด เช่น ระดูมาไม่เป็นปกติ เป็นลมพิษ เป็นต้น (ราก)
24.รากใช้เป็นส่วนผสมของยาเย็น ยาผง ยาแก้ซาง (ราก)
ดอกหมีเหม็น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหมี่
1.สารสำคัญที่พบในใบหมี่ ได้แก่ actinodaphnine, boldine, iso-boldine, laurelliptine, N-acetyl- laurelliptine, laruotetanine, N-acetyl-laurotetanine, N-methyl-laurotetanine, liriodenine, Litsea arabinoxylan PPS, litseferine, polysaccharide, reticuline, sebiferine
2.ใบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา มีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ แก้อาการท้องเดิน
3.Essential oil ที่สกัดจากใบมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มฤทธิ์การทำให้นอนหลับ มีฤทธิ์ทำให้ความดันต่ำนานขึ้น
4.สารสกัดเมทานอลจากเปลือกใบมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการรักษาโรคท้องร่วงและโรคบิด
5.น้ำมันหอมระเหยจากใบมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus (gram positive bacteria) ส่วนน้ำมันจากผลมีฤทธิ์ยับยั้ง Candida albicans (yeast)
6.จากการทดสอบความเป็นพิษ โดยฉีดสารสกัดจากพืชส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอลเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 1 กรัมต่อกิโลกรัม
 à¸œà¸¥à¸«à¸¡à¸µà¹€à¸«à¸¡à¹‡à¸™
ประโยชน์ของหมี่
1.ผลสุกใช้รับประทานได้
2.ใบใช้บ่มกล้วยให้สุกเร็ว หรือใช้รองปิดปากไหปลาร้ากันหนอน
3.ใบนำมาขยี้ผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้เป็นยาสระผม ช่วยป้องกันรังแค และทำให้ผมนุ่ม หรือจะนำใบและยอดอ่อนมาผสมกับเปลือกต้นเถารางแดง ส้มป่อยหรือมะนาวหรือมะกรูด และน้ำด่าง (น้ำขี้เถ้า) นำมาผสมแล้วต้มรวมกัน แล้วนำน้ำที่ได้ไปสระผมก็ได้
4.ใบสดใช้เป็นยาพอกศีรษะเพื่อฆ่าเหา
5.ดอกนำมาตากแห้งอบน้ำหอม ประดิษฐ์เป็นของชำร่วย
6.ใบสามารถย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีเขียส่วนเปลือกใช้ย้อมสีผ้า ย้อมแหให้ติดสี ผงจากเปลือกใช้ทำธูปจุดไล่แมลง
7.ยางของต้นใช้ทาเครื่องจักสานให้หนาและทนทาน และใช้ดักแมลงตัวเล็ก
8.เนื้อไม้ของต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ หรือนำลำต้นมาใช้ทำฟืน
9.ใบหมี่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องสำอางได้ดี เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง เนื่องจากมีสารเมือก (mucilage) ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารเคลือบผิวและผมในการปกป้องและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวและผม อีกทั้งสารสกัดจากใบยังมีสารสำคัญที่มีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาที่ใช้ภายนอกได้อีกด้วย
10.ในด้านประเพณีและความเชื่อ บางท้องถิ่นจะใช้ใบนำมาห่อข้าวต้มประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ใช้แก่นทำช่อฟ้าอุโบสถ ส่วนในด้านความเชื่อนั้น มีการขูดเปลือกเพื่อขอหวย ใช้ใบไล่ผี เวลาเดินทางไกลจะนำใบมาเหน็บบั้นเอวไว้ โดยเชื่อว่าจะทำให้หายจากอาการจุกเสียด นอกจากนี้ยังเชื่อว่าคนท้องที่สระผมด้วยใบหมี่กับน้ำซาวข้าวแล้วจะช่วยให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น