สรรพคุณของกระดังงา
1.เปลือกต้นกระดังงา
มีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้อาการท้องเสีย
ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
2.เนื้อไม้กระดังงา
มีรสขมเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
3รากกระดังงา
มีสรรพคุณเป็นยาคุมกำเนิด
4.ใบกระดังงา ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง
กลากเกลื้อน แก้อาการคัน และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
5.ดอกกระดังงา มีรสหอมสุขุม
มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน ใช้ปรุงเป็นยาหอม ใช้เป็นยาชูกำลัง ทำให้หัวใจชุ่มชื่น
บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ
จัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดเกสรทั้ง 7” (สัตตะเกสร) และ
“พิกัดเกสรทั้ง 9” (เนาวเกสร) ช่วยแก้อาการไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ
และมีปรากฏในตำรายาแผนโบราณชื่อคัมภีร์มหาโชติรัตน์ ยาชื่อมาลาสันนิบาต
ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมจุกคอ แก้อาการแน่นหน้าอก แก้จุกเสียดและแก้สะอึก
6.เกสรกระดังงา
มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร และใช้แก้โรคตา
7.น้ำมันหอมระเหย
มีสรรพคุณเป็นยาขับลม ฆ่าเชื้อโรค ช่วยบำรุงประสาท สงบประสาท แก้อาการซึมเศร้า
กระวนกระวายใจ แก้หอบหืด ช่วยลดความดันโลหิต
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระดังงา
8.กระดังงาไทยมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
ฆ่าเซลล์มะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ยีสต์ ไล่แมลง เป็นเครื่องหอม
แก้อาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร
ใช้สงบประสาท ลดไข้
ประโยชน์ของกระดังงา
1.คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกระดังงาไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง
เนื่องจาก "กระดัง" คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล
นอกจากนี้ยังเชื่อด้วยว่า
เสียงดังเหมือนกับนกการเวกในสมัยพุทธกาลที่มีเสียงดังไพเราะและก้องไกลทั่วสวรรค์
ดังนั้นบางคนจึงเรียกกระดังงาว่า การเวก
2.คนไทยโบราณจะใช้ดอกกระดังงานำมาทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำเป็นน้ำมันใส่ผม
3.ดอกแก่จัดสด ๆ
สามารถนำมารมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียน
เพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตกออกและส่งกลิ่นหอมออกมา
แล้วนำไปเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งในตอนเช้า
แล้วนำน้ำไปเป็นน้ำกระสายยา หรือนำไปคั้นกะทิ หรือทำเป็นน้ำเชื่อมปรุงขนมต่าง ๆ
4.ดอกแห้งใช้ผสมกับดอกไม้หอมอื่น
ๆ สำหรับทำบุหงา
5.น้ำมันหอมใช้ปรุงเป็นน้ำหอมชั้นสูงที่มีราคาแพง
ใช้ปรุงขนม น้ำอบ และอาหาร
6.น้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากดอก
(Cananga oil หรือ Ylang-ylang
oil) ถูกนำมาใช้ในทางสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ใช้ผลิตเป็นเครื่องสำอาง
หรือทำเป็นเครื่องหอมต่าง ๆ
7.เปลือกสามารถนำมาทำเป็นเชือกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น