หน้าเว็บ

เถาคัน (ข้อมูลเพิ่มเติม)


ประโยชน์ของเถาคัน
  • ผลดิบใช้กินเป็นอาหารได้ (ให้รสชาติขมเล็กน้อย ใช้ใส่น้ำพริกและใช้แกงส้ม)(แต่มีข้อมูลชี้ว่าผลเถาคันแดงมีกรดออกซาลิคซึ่งเป็นสารพิษ หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคัน เพราะสารนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผนังกระเพาะลำไส้และจะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบจนทำให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลทได้ มีผลทำให้ปริมาณของแคลเซียมอิออนลดลง ซึ่งภาวะเช่นนี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและประสาทส่วนกลาง ไตพิการ เนื่องจากมีการตกตะกอนของแคลเซียมออกซาเลท)
  • ยอดอ่อนมีรสจืด มักนำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริกหรือรับประทานเป็นผักสด

สรรพคุณของเถาคัน

  • เถาใช้ปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกษัย เป็นยาฟอกเลือด เป็นยาขับเสมหะ ขับลม รักษาอาการฟกช้ำภายใน และช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (เถา)


  • ใบนำไปอังกับไฟให้พอเหี่ยว ใช่ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนองได้ คล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง (ใบ)
แหล่งอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “เถาคัน”.  หน้า 341-342.
  2. พืชกินได้ในป่าสะแกราช, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).  “เถาคันแดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.tistr.or.th.  [13 ก.ค. 2015].
  3. พืชพิษ, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “รายงานการเกิดพิษในคน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/poison.htm.   [13 ก.ค. 2015].
  4. ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “เถาคันขาว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : clgc.agri.kps.ku.ac.th.  [13 ก.ค. 2015].
  5. ภาพประกอบ : www.sbs.utexas.edu, plants.usda.gov

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น