หน้าเว็บ

หนอนตายหยาก(ข้อมูลเพิ่มเติม)



สรรพคุณของหนอนตายหยาก

  1. เหง้าหรือรากมีรสขมชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเย็น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ อาการไออันเนื่องมาจากเป็นวัณโรค (ราก)
  2. ตำรับยาแก้อาการไอเนื่องมาจากวัณโรค ให้ใช้รากหรือเหง้าหนอนตายหยาก, เปลือกหอยแครงสะตุ, เกล็ดนิ่ม, จี๊ฮวง อย่างละเท่ากัน แล้วนำมาบดให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำรับประทานครั้งละ 5 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง (รากช่วยขับเสมหะ รักษาวัณโรค (ราก) บางข้อมูลระบุว่ามีการหนอนตายหยากเป็นยาแก้ภูมิแพ้ โดยใช้รากหนอนตายหยากและใบหนุมานประสานกาย (สดหรือแห้งก็ได้) อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่มขณะยังอุ่นต่างน้ำทุกวัน จะช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ รวมถึงช่วยละลายเสมหะ และลดอาการไอได้ด้วย (ราก) (ข้อมูลจาก : tripod.com) ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้โรคโปลิโอ (ราก,ทั้งต้น) ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ให้ใช้รากสด 1 ราก ที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาหั่นตำให้ละเอียด เติมเกลือ 1/2 ช้อนชา ใช้อมประมาณ 10-15 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำแบบนี้ติดต่อกันประมาณ 2-4 ครั้งจะหายปวดฟัน (ให้เว้นระยะห่างกัน 4-5 ชั่วโมง) (ราก)[4] ส่วนอีกวิธีใช้ใบนำมาตำและอมแก้อาการปวดฟัน (ใบ) ในประเทศอินโดจีนจะใช้รากเป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก (ราก)
  3. ในประเทศจีนจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาขับผายลม (ราก) ใช้เป็นยาแก้บิดอะมีบา ด้วยการใช้รากหรือเหง้าหนอนตายหยาก 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก) รากมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด ด้วยการใช้รากแห้ง 2 ราก นำมาต้มกับน้ำกินติดต่อกันประมาณ 15-20 วัน (ราก)ส่วนวิธีใช้ถ่ายพยาธิปากขอ ให้ใช้รากหรือเหง้า 100 กรัม แบ่งต้ม 4 ครั้ง จากนั้นนำมาสกัดจนเหลือ 30 ซีซี ใช้รับประทานครั้งละ 15 ซีซี โดยให้รับประทานติดกัน 2 วัน จึงจะสามารถถ่ายพยาธิปากขอออกมาได้ (ราก)
  4. ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด โดยนำรากมาผสมกับหญ้าหวายนาและชะอม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด (ราก)
  5. ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นหนอนตายหยากต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด (ราก,ทั้งต้น)

  6. รากและหัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยการใช้รากนำมาปรุงต้มรับประทาน พร้อมกับต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง จะทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้งไป (หัว,ราก)
  7. รากใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งตับ (ราก)
  8. รากหรือหัวใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก)
  9. ใช้รักษาจี๊ด ให้ใช้รากสดประมาณ 3-4 ราก ที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำมาหั่นตำให้ละเอียด ใช้พอกตรงที่มีตัวจี๊ด ซึ่งจะสังเกตได้โดยบริเวณนั้นจะบวมขึ้นมา โดยให้พอกหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะหาย (ราก)
  10. รากใช้ปรุงเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคันตามร่างกาย และผิวหนังอักเสบ ด้วยการใช้รากประมาณ 50-100 กรัม นำมาต้มแล้วเอาน้ำใช้ล้างหรืออาบ (ราก)
  11. ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาทุบหรือตำผสมกับน้ำหรือหมักกับน้ำแล้วเอาน้ำมาพอกทาฆ่าหิด เหา แมลง หนอน หรือศัตรูพืช (ราก)
  12. รากนำมาทุบให้ละเอียดแช่กับน้ำ ใช้พอกแผลต่าง ๆ ฆ่าหนอน และทำลายหิดได้ (ราก)
  13. รากหนอนตายหยากใหญ่ มีรสเย็น เป็นยาแก้อาการวัยทองทั้งชายและหญิง (รากหนอนตายหยากใหญ่)
  14. สมุนไพรหนอนตายหยากยังใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาไทยอีกหลายรายการ เช่น ยาตัดรากอุปะทม (แก้อุปะทมโรคสำหรับบุรุษ), ยาแก้นิ่วเนื้อด้วยอุปทุม, ยาต้มสมานลำไส้, ยาแก้ลมกำเริบ, ยาแก้ดีลมแลกำเดา, ยาแก้ดีกำเดาแผลงฤทธิ์ร้าย เป็นต้น
  15. นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาไว้อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยลดระดับน้ำตาลสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (นันทวัน และอรนุช 2543) แก้มะเร็งในกระดูก แก้มะเร็งในมดลูก แก้โรคผิวหนังเป็นตุ่มหนอง (th.apoc12.com - ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช กรมวิชาการเกษตร),

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม  ให้ใช้รากแห้งครั้งละ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ประมาณ 50-100 กรัม นำมาต้มแล้วใช้น้ำล้างหรืออาบแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน
ข้อควรระวังในการใช้หนอนตายหยาก
รากหนอนตายหยากมีพิษ หากรับประทานเข้าไปจะทำให้มึนเมา และอาจถึงตายได้[5] มีข้อมูลระบุว่าการนำมาใช้เป็นยาจะต้องผ่านกรรมวิธีการทำลายพิษเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ เช่น การนำรากมาล้างให้สะอาดแล้วลวกหรือนึ่งจนกระทั่งไม่เห็นแกนสีขาวในราก และต้องตากแดดก่อนนำไปใช้ปรุงยา หรือในบางตำราก็จะนำไปเชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนนำไปใช้ (นันทวัน และอรนุช 2543)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนอนตายหยาก
สารที่พบในสมุนไพรชนิดนี้ ได้แก่ Stemonine, Stemonidine, Isotuberostemonine, Iso-Stemonidine, Protostemonine, Hypotoberosstemonine, Oxtuberostemonine, Tuberostemonine เป็นต้น[3] ส่วนสารอื่น ๆ ที่พบ เช่น stemonacetal, stemonal, stemonone, rotenoid compound
จากการทดลองกับสัตว์ทดลองพบว่า สมุนไพรหนอนตายหยากสามารถยับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้การหายใจได้ผลช้าล
สารสกัดที่ได้จากหนอนตายหยากมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด
จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการป้อนสารสกัดจากรากในขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลาหนึ่งเดือน ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก

ประโยชน์ของหนอนตายหยาก

  1. ใช้รักษาเหา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 3-4 ราก ที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำมาตำผสมกับน้ำใช้ชโลมเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยสระออกให้สะอาด โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเหาจะตายหมด รากใช้ฝนคลุกข้าวหรือมะพร้าวแล้วโดยให้มดกินเป็นยาฆ่ามด (คนเมือง)
  2. ใบใช้ยักปากไหปลาร้าเพื่อป้องกันหนอนใช้รากของต้นหนอนตายหยากสดประมาณ 500 กรัม นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในท่อน้ำทิ้ง จะสามารถฆ่ายุงและลูกน้ำได้ หรือจะใช้รากนำมาตำผสมกับน้ำเป็นยาฆ่าแมลงและหนอนศัตรูพืชที่มารบกวนพืชผักได้ดี
  3. รากนำมาโขลกบีบเอาแต่น้ำใช้หยอดแผลวัวควายที่มีหนอนไช หรือจะใช้กากของรากสดนำมาโปะปิดแผลของสัตว์พาหะที่เลียไม่ถึง จะเป็นยาฆ่าหนอนที่เกิดในแผล หนอนจะตายหมด
  4. การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นยาฆ่าแมลง ให้ใช้รากหรือเหง้าหนอนตายหยาก 10 กิโลกรัม กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ตะไคร้ทั้งต้น 5 กิโลกรัม ใบสาบเสือ ใบหูเสือ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดให้ละเอียดโดยไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ในภาชนะ ตอนจะใช้ก็ให้นำมาผสมกับน้ำฉีดพ่นสวนส้ม นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ อีก เช่น ใช้รากหนอนตายหยาก 15 กิโลกรัม กากน้ำตาล 15 กิโลกรัม น้ำ 20 ลิตร ตะไคร้หอม เปลือกเงาะ และเปลือกมังคุดประมาณ 5 กิโลกรัม โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมหมักในภาชนะทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน แล้วค่อยนำมาใช้
  5. สามารถนำผลิตใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น