สรรพคุณของพริกชี้ฟ้า
1. พริกมีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร
บำรุงธาตุในร่างกาย (ผล, เมล็ด)
2. ช่วยแก้กระษัย (เมล็ด)
3. สารแคปไซซินที่มีอยู่ในพริกทุกชนิด
จะมีสรรพคุณช่วยระบบหายใจ หัวใจ และความดัน (ผล)
4. พริกสามารถลดความดันโลหิตได้
เพราะทำให้เลือดอ่อนตัว และทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี (ผล)
5. ช่วยเร่งการย่อยสลาย ขับเหงื่อ
และช่วยลดน้ำหนักได้ดี (ผล)
6. ช่วยลดอาการหวัดคัดจมูก (ผล)
7. ช่วยแก้อาเจียน (ผล)
8. ช่วยขับเสมหะ (ผล)
9.
พริกสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร
ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น (ผล, ใบ)
10. ช่วยแก้ลมจุกเสียด
แก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อ เรอเปรี้ยว แก้แน่น ลดกรดในกระเพาะ ช่วยขับผายลม
และช่วยในการย่อยอาหาร (ผล, เมล็ด, ใบ)
11. พริกมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)
12. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)
ต้นนำมาเผาให้เป็นถ่าน มีสรรพคุณใช้ขับปัสสาวะเช่นกัน (ต้น)
13. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (เมล็ด)
14. ช่วยแก้หิด กลาก เกลื้อน (ผล)
15. ช่วยยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้
(ผล)
16. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก
แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามบั้นเอว ฟกช้ำดำเขียว
ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และช่วยแก้ตะคริวได้ (ผล, เมล็ด)
17. ต้นนำมาเผาให้เป็นถ่าน
ใช้เป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย (ต้น)[4] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณช่วยแก้เส้นเอ็นพิการได้เช่นกัน
(เมล็ด)
หมายเหตุ :
วิธีการใช้ตาม ข้อ 2 ให้นำผลพริกมาปรุงเป็นอาหาร โดยรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน
ห้ามถูกแผลเพราะจะทำให้ปวดแสบ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพริกชี้ฟ้า
1.สารสำคัญที่พบในบริเวณไส้ของผลพริก คือ
"แคปไซซิน" (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุน
โดยสารชนิดนี้สามารถยับยั้งการขนส่งน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้ได้
จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลง ส่วนสารสำคัญที่ทำให้พริกมีสีส้มหรือสีแดง
คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งประกอบไปด้วยสารแคโรทีน (Carotene),
แคปซันทิน (Capsanthin), แคปซารูบิน (Capsarubin),
ลูทีโอลิน (Luteolin) ส่วนในเมล็ดพริกมีสารโซลานีน
(Solanine) และโซลานิดีน (Solanidine) นอกจากนี้พริกยังมีสารอาหารอีกมากมาย
เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2
วิตามินบี3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นต้น
2. เมื่อปี ค.ศ.1980 มีการทดลองพบว่า
น้ำสกัดจากผลพริกสามารถลด fasting blood glucose แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ให้
และการให้สารสกัดทางปากสามารถลด intracardiac glucose tolerance curve เมื่อทำการแยกสาร Capsaicin มาทดลอง พบว่า สารนี้มีผลยับยั้งการขนส่งกลูโคสผ่านลำไส้
ซึ่งอาจเกิดจากการสลายกลูโคสเป็นกรดแลกติก หรือมีผลยับยั้งต่อ ATPase-dependent
sodium pump
3. เมื่อปี ค.ศ.1980 ได้มีการทดลองใช้สาร Capsaicin
ในหนูที่เกิดใหม่กับหนูอายุ 3 เดือน ผลการทดลองพบว่า
หนูเกิดใหม่มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่ได้ผลในหนูอายุ 3 เดือน
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหนูทนต่อยาได้มากขึ้นก็เป็นได้
ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า
1. ผลอ่อนและผลแก่ใช้เครื่องประกอบอาหาร
2. ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาประกอบอาหารได้
เช่น แกงอ่อม แกงเลียง เป็นต้น
3. การรับประทานพริกเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้
เนื่องจากพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ
4.
พริกยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้งทาถูนวด
เพื่อแก้อาการปวดเมื่อยบวมและลดอาการอักเสบ เพราะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทายามีเลือดมาเลี้ยงมากยิ่งขึ้น
จึงช่วยแก้อาการเป็นตะคริวได้ด้วย
5. นอกจากนี้พริกยังใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ
ยาแก้ปวดหลัง เนื่องจากสารสกัด Capsaicin จากพริกสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งของเอนไซม์บางชนิดได้
ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เกิดการบีบตัวและคลายตัว
คุณค่าทางโภชนาการของพริกชี้ฟ้า
1. พริกชี้ฟ้าเขียว 100 กรัม จะประกอบไปด้วย
พลังงาน 129 แคลอรี, น้ำ 63.8%, โปรตีน 1.5 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 29.8 กรัม, ใยอาหาร 2.2 กรัม, เถ้า 2.2 กรัม, วิตามินเอ 1,917 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.01
มิลลิกรัม, วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม, วิตามินซี
204 มิลลิกรัม, แคลเซียม 103 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
2. พริกชี้ฟ้าแดง 100 กรัม จะประกอบไปด้วย
พลังงาน 58 แคลอรี, น้ำ 84%, โปรตีน 2.8 กรัม, ไขมัน 2.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม, ใยอาหาร 3.5 กรัม, เถ้า 0.8 กรัม, วิตามินเอ 10,000 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.16 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.24
มิลลิกรัม, วิตามินบี3 3.5 มิลลิกรัม, วิตามินซี
168 มิลลิกรัม, แคลเซียม 3 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก
1.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม
ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย, ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม
แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).
“พริกชี้ฟ้า (Prik Chi Fa)”.
หน้า 191.
2. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์
เกิดดอนแฝก). “พริกชี้ฟ้า”. หน้า 112-113.
3. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร. “พริกชี้ฟ้า”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [29 ส.ค. 2014].
4. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่. “พริกชี้ฟ้า”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่
26 เมษายน 2547.
[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th.
[29 ส.ค. 2014].
5. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
RoOoNa, Achim, Gerda Bats), www.eco-agrotech.com, www.matichon.co.th (by พงษ์สันต์ เตชะเสน)
6. Medthai.co “พริกชี้ฟ้า
สรรพคุณและประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า 22 ข้อ !” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/พริกชี้ฟ้า/ [15/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น