สรรพคุณของมะหาด
แก่นมะหาดมีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย
ละลายเลือด กระจายโลหิต (แก่น,ผงปวกหาด),,,,
แก่นมะหาดมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระษัยไตพิการ
กระษัยเสียด กระษัยดาน กระษัยกร่อน กระษัยลมพานไส้ กระษัยทำให้ท้องผูก (แก่น),
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (แก่น,ผงปวกหาด),
ช่วยแก่ตานขโมย (แก่นเนื้อไม้)
แก่นมะหาดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ดวงจิตขุ่นมัว
ระส่ำระสาย แก้อาการนอนไม่หลับ (แก่น),
แก่นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม (แก่น,แก่นเนื้อไม้,ผงปวกหาด),,,
เปลือกต้นสดนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้
หรือจะใช้รากสดหรือแห้ง นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ก็ได้ (เปลือกต้น,ราก),, แก่นมีรสร้อน สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ต่าง
ๆ (แก่น)
รากมะหาดสดหรือแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้พิษร้อนใน
(ราก),,
ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (แก่น,ผงปวกหาด),
ช่วยแก้เสมหะ (แก่น)
ช่วยแก้หอบหืด (แก่น)
ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (แก่น,ผงปวกหาด), ส่วนแก่นเนื้อไม้มีสรรพคุณแก้จุกแน่น
แก้ท้องขึ้นอดเฟ้อ ช่วยขับลม ผายลม (แก่นเนื้อไม้)
ช่วยแก้ฝีในท้อง (แก่น,ผงปวกหาด),,
ช่วยแก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย (แก่น),
แก่นเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาระบาย
แก้ท้องผูกไม่ถ่าย (แก่นเนื้อไม้)ส่วนยางและเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายเช่นกัน
(ยาง,เมล็ด)
เปลือกต้นสดนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วยขับพยาธิ
ถ่ายพยาธิ พยาธิตัวตืด หรือจะใช้รากสดหรือแห้ง
นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับพยาธิก็ได้ (เปลือกต้น,แก่น,ราก),,,, (แก่นเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม
พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวตืด พยาธิตัวแบน)
ตำรายาไทยจะใช้ผงปวกหาดเป็นยาถ่ายพยาธิ
พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน และพยาธิตัวตืด โดยใช้ผงปวกหาดในขนาด 3-5 กรัม นำมาละลายหรือผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้วดื่มตอนเช้ามืดก่อนอาหารเช่า
(หรือจะผสมน้ำมะนาวลงไปด้วยก็ได้) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่ว
ให้กินยาถ่าย (ดีเกลือ) ก็จะช่วยขับพยาธิออกมา วิธีนี้ใช้กับเด็กได้ดี
แต่เวลาปรุงยาควรใส่ลูกกระวานหรือลูกจันทน์เทศด้วยเพื่อแก้อาการไซร้ท้อง
สำหรับเด็กให้ใช้ผงปวกหาดเพียงครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานเพียงครั้งเดียว (ผงปวกหาด),,,,,
ช่วยขับปัสสาวะกะปริดกะปรอย (แก่น,ผงปวกหาด),,
ช่วยขับโลหิต (แก่น,แก่นเนื้อไม้,ผงปวกหาด),,
ใบมะหาดมีสรรพคุณช่วยแก้โรคบวมน้ำ (ใบ)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (แก่น)
เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น)
ผงปวกหาด ใช้ละลายน้ำทาแก้ผื่นคัน แก้เคือง
(ผงปวกหาด),,,, ส่วนแก่นมีสรรพคุณช่วยแก้ประดวงทุกชนิด
(แก่น)
ช่วยแก้อาการปวด (ผงปวกหาด),
แก่นมะหาดมีสรรพคุณเป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ (แก่น,แก่นเนื้อไม้),,,,
รากสดหรือแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้กระษัยในเส้นเอ็น
(ราก),,
รากเป็นยาบำรุงและมีฤทธิ์บรรเทาการอุดตัน
(ข้อมูลไม่ได้ระบุว่าบรรเทาอาการอุดตันอะไร) (ราก)
ข้อควรระวัง : ห้ามกินมะหาดกับน้ำร้อน เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เกิดอาการไซ้ท้อง
หรือเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงได้ แต่สำหรับบางรายอาจมีอาการแพ้ผงปวกหาด
โดยจะมีผื่นคันขึ้นตามตัว หน้าแดง ตาแดง ผิวหนังแดงคัน และมีไข้ร่วมด้วย
โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-2 วัน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะหาด
แก่นมะหาด พบสารสำคัญในกลุ่มสติลบินอยด์
ได้แก่ 2,4,3',5'-tetrahydroxystilbene (oxyresveratrol), resveratrol, สารฟลาโวนอยด์ ได้แก่ artocarpin, cycloartocarpin,
norartocarpin, norcycloartocarpin ส่วนเปลือกต้นมะหาด พบไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ beta-amyrin acetate, lupeol acetate,
tannin ส่วนรากมะหาด พบสติลบินอยด์
ได้แก่ lakoochin A, lakoochin B ส่วนเปลือกรากมะหาด พบฟลาโวนอยด์ เช่น 5,7-dihydroxyflavone-3-O-alpha-L-rhamnoside,
galangin-3-O-alpha-L-rhamnoside, kaempferol-3-O-beta-L-xyloside,
quercetin-3-O-alpha-L-rhamnoside, ไตรเทอร์ปีนอยด์ lupeol
เป็นต้น
สาร lakoochin A และ
B จากรากมะหาดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อวัณโรค Mycobacterium
tuberculosis โดยมีค่า MIC เท่ากับ 12.5
และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม ตามลำดับ
ใบสดเมื่อนำมาใช้เตรียมเป็นสูตรอาหารสำหรับวัวในปริมาณ
5%
ร่วมกับอาหารหลักอื่น ๆ
พบว่าสามารถช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมวัวได้ 26.8% และมีปริมาณไขมันในน้ำนมเพิ่มขึ้น
5.7%
สารสกัดจากแก่นมะหาด มีฤทธิ์ขับพยาธิใบไม้ในหลอดทดลอง
โดยสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิของผงปวกหาดคือสาร 2, 4,
',5'-tetrahydroxystilbene (oxyresveratrol) ซึ่งจากการศึกษาไม่พบความเป็นพิษ,
ผงปวกหาดในขนาด 5 กรัม
เมื่อนำมาผสมกับน้ำดื่ม และให้ยาถ่ายตาม โดยทดลองกับผู้ป่วยจำนวน 39 ราย จากการตรวจอุจจาระของคนไข้ พบส่วนหัวของพยาธิ และพบส่วนปล้องพยาธิ
พบว่าเป็นพยาธิตัวตืดวัวควายและพยาธิตืดหมู คิดเป็นการรักษาหายอัตราร้อยละ 81
ผงปวกหาดในขนาด 5 กรัม
เมื่อนำมาผสมกับสารอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาถ่ายและสารแต่งรสชาติ
แล้วนำมาให้คนไข้ที่เป็นพยาธิตัวติดวัวควายจำนวน 25 ราย
หลังการรับประทาน ตรวจพบส่วนของพยาธิในอุจจาระ
และการติดตามผลต่อมาไม่พบปล่องหรือไข่พยาธิในอุจจาระอีก
สาร oxyresveratrol ที่แยกได้จากแก่นมะหาดมีฤทธิ์ปานกลางในการยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัส
3 ชนิด ในหลอดทดลอง ได้แก่ เชื้อเริมทั้งสองชนิด (HSV1,
HSV2) และเชื้อ HIV
สารสกัดจากแก่นมะหาดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ร้อยละ
92
ที่ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
โดยสาร oxyresveratrol จะมีผลช่วยลดความเข้มข้นของเม็ดสีเมลานินในผิวหนังได้
โดยการไปยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จึงทำให้ผิวขาว
จากการศึกษาทางพิษวิทยา
พบว่าบางรายมีอาการแพ้ผงปวกหาด โดยจะมีอาการผื่นคันที่หน้า ตาแดง ผิวหนังแดงคัน
และอาจมีไข้ร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองใน 1-2 วัน
ส่วนรายงานจากกองวิจัยทางการแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
สารสกัดมะหาดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase
ในหลอดทดลอง
และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเมลานินในอาสาสมัคร โดยพบว่า
ค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ของสารสกัดมะหาด และสาร oxyresveratrol มีค่าเท่ากับ
0.76 และ 0.83 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ
และผลการยับยั้งการสร้างเมลานินในอาสาสมัคร โดยใช้สารสกัดมะหาดที่มีความเข้มข้น 0.25%
w/v ในสารละลาย propylene glycol โดยทำเปรียบเทียบกับสารที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างเมลานินเช่นกัน
ได้แก่ kojic acid ที่ความเข้มข้น 3% w/v และ licorice เข้มข้น 0.25% w/v ในสารละลายเดียวกัน
โดยให้อาสาสมัครทาสารสกัดบริเวณต้นแขนข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างให้ใช้สารละลาย propylene
glycol เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบปริมาณของเมลานินที่ลดลง
ผลการทดลองพบว่าสารสกัดมะหาดสามารถช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้เมื่อทาติดต่อกันเป็นระยะเวลา
4 สัปดาห์ ในขณะที่ kojic acid (กรดโคจิก)
และ licorice (สารสกัดจากชะเอม) จะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า
6 และ 10 สัปดาห์ ตามลำดับ จึงจะเห็นความแตกต่างของสีผิว
ส่วนเครื่องสำอางที่เป็นโลชั่นชนิดไขมันในน้ำจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดมะหาดในการทำให้ผิวขาวได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์
ประโยชน์ของมะหาด
ผลมะหาดสุก ใช้รับประทานได้
โดยจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
ชาวม้งจะใช้ใบมะหาดอ่อนนำมานุ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน
เปลือกต้นมะหาดมีรสฝาด
สามารถนำมาเคี้ยวกับหมากแทนสีเสียดได้
ที่ประเทศเนปาลจะใช้ใบมะหาดเป็นอาหารสัตว์
เพื่อช่วยเพิ่มการขับน้ำนมของสัตว์เลี้ยง
ในประเทศอินเดียและเนปาลจะใช้เปลือกต้นมะหาด
นำมาต้มกับน้ำทารักษาสิว
ชาวกะเหรี่ยงจะใช้ใบมะหาดแทนการใช้กระดาษทราย
ใยจากเปลือกต้นมะหาด สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้
รากมะหาด สามารถนำมาสกัดเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้
โดยจะให้สีเหลือง
เนื้อไม้มะหาดเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน
เสี้ยนสน เนื้อไม้หยาบ แข็ง มีความเหนียวและทนทานมาก
สามารถเลื่อยกบไสตบแต่งได้ง่าย ปลวกและมอดไม่ชอบทำลาย นิยมใช้ทำเสา สร้างบ้าน
ทำสะพาน ทำหมอนรองรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร,
ในด้านประโยชน์ทางด้านนิเวศน์
ต้นมะหาดสามารถปลูกเป็นไม้เพื่อให้ร่มเงา ความร่มรื่นได้
และยังช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดมะหาดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวหรือ
"ครีมมะหาด", "โลชั่นมะหาด",
"เซรั่มมะหาด" เนื่องจากสารสกัดจากแก่นมะหาดนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
tyrosinase และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเมลานิน
จึงทำให้ผิวขาวขึ้นได้ แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดมะหาดเพื่อให้ผิวขาว
นอกจากจะต้องพิจารณาถึงความเข้มข้นของสาสกัดเป็นหลักแล้ว
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของสารสกัดมะหาดเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น