หน้าเว็บ

ตะคร้ำ (ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของตะคร้ำ
1.ผลตะคร้ำ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล)
2.ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดตา แก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ (ต้น)
3.ตำรายาไทยจะใช้น้ำคั้นจากใบตะคร้ำ นำมาผสมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยารักษาโรคหืด (ใบ)
 4.ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินหรือนำมาบีบเพื่อเอาน้ำกินเป็นยา (เปลือกต้น
5.เปลือกต้นใช้ฝนใส่น้ำร่วมกับเปลือกต้นมะกอกและตะคร้อ ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เปลือกต้น)
6.เปลือกต้นใช้ต้มอาบสำหรับสตรีหลังคลอด (เปลือกต้น)
7.เปลือกต้นใช้ภายนอกเป็นยาทาห้ามเลือด (เปลือกต้น)
8.เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำใช้ล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก (เปลือกต้น)
9.ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้เปลือกต้นตะคร้ำ นำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้อักเสบ บวม ติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ฝีหรือตุ่ม (เปลือกต้น)[1]
10.คนเมืองจะใช้เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำ ให้เด็กทารกอาบ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีผื่นหรือตุ่มขึ้น
ลูกตะคร้ำ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะคร้ำ
สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ทำให้เลือดแข็งตัวเร็วและกล้ามเนื้อเรียบเกร็งในหลอดทดลอง
ประโยชน์ของตะคร้ำ
1.ผลสุกใช้รับประทานได้
2.ชาวขมุจะใช้เปลือกต้นตะคร้ำนำมาขูดใส่ลาบ
3.ใบใช้มัดเสาเอกของบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลในการช่วยค้ำชู (คนเมือง)
4.เนื้อไม้ตะคร้ำ สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้านเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน ทำฝา หีบหรือลังใส่ของได้
5.ผลใช้ย้อมตอกให้สีดำ
6.เปลือกต้น ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogollol และ Catechol
รูปผลตะคร้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น