เต่าร้างแดง(ข้อมูลเพิ่มเติม)
สรรพคุณของเต่าร้างแดง
- ชาวเขาเผ่าเย้าจะใช้รากเต่าร้างแดงนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง
ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง (ราก)
- หัวอ่อน ๆ ใช้กินเป็นยาแก้ไข้จับสั่น
บำรุงตับและปอด (หัว)
- หัวอ่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้รู้สึกอบอุ่นมากขึ้น
จึงนิยมนำไปรับประทานในช่วงที่เป็นไข้หนาว
เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นและช่วยให้หายจากอาการดังกล่าวได้ไวขึ้น (หัว)
- หัวและรากเต่าร้างแดงมีรสหวานเย็นขม
มีสรรพคุณเป็นยาแก้ตับทรุด ช่วยดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี (หัวและราก)(บางข้อมูลระบุด้วยว่า
รากและหัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬขึ้นปอด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ และอาการช้ำใน)
- หัวมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ
แก้ช้ำใน และช่วยบำรุงหัวใจ (หัว)
- ผลแก่ใช้ตำพอกแผล ช่วยในการสมานแผล
ทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดไวยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยป้องกันบาดทะยักอีกด้วยเช่นกัน
หรือถ้าเป็นหิดก็ให้ใช้ผลที่ฝานแล้วมาทาแก้หิด กลาก เกลื้อน
ส่วนอีกวิธีจะผลใช้ผสมกับน้ำมะพร้าว หั่นลูกทาแก้หิด (ผล)
ประโยชน์ของเต่าร้างแดง
- ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน จะนำมาต้ม ลวก
แกง หรือผัดกะทิก็ได้ แล้วนำไปเป็นอาหารกินแกล้มกับแกงหรือน้ำพริก บ้างก็ใช้รับประทานสด ๆ อีกส่วนคือใช้แกนในของลำต้น
(แกนในยอดอ่อนบริเวณโคนต้น) นำมาประกอบอาหาร เช่น ทำแกง (แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน)
แกล้มรับประทานกับน้ำพริก และสุดท้ายคือผลสุกของเต่าร้างแดงก็สามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน
ให้มีรสชาติหวานอร่อย
- ใบใช้มุงหลังคาได้ ส่วนเส้นใบจากกาบใบใช้ทำเป็นเชือกสำหรับผูกของต่าง
ๆ หรือนำไปทำเป็นเครื่องจักสานเพื่อเป็นสินค้าส่งเสริมรายได้ของชาวบ้าน
- ลำต้นใช้ทำไม้ปลายแหลมสำหรับเจาะหลุมปลูกข้าวไร่
เพราะมีความทนทาน สามารถใช้ได้นานปี
- บางข้อมูลระบุว่า
ช่อดอกสามารถนำมาปาดเอาน้ำหวานผลิตเป็นน้ำตาลได้เช่นเดียวกับมะพร้าว
- ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป
นิยมนำมาปลูกประดับในอาคาร ปลูกกลางแจ้งในสวนสาธารณะ ริมสระว่ายน้ำ หรือริมทะเล
เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม แต่ไม่ควรนำไปปลูกใกล้ทางเดิน บริเวณที่พักผ่อน
หรือสนามเด็กเล่น เพราะผลมีพิษ
ข้อควรระวัง : ขนตามผล น้ำเลี้ยงตามผิวใบของลำต้น
และยางของพืชชนิดนี้โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน
หรือหากเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนขนที่ต้นเมื่อสัมผัสจะทำให้มีอาการคันเล็กน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น