หน้าเว็บ

ขี้อ้าย (ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของขี้อ้าย
1.เปลือกมีรสฝาด ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือก)
2.เปลือกใช้กินกับหมาก แก้ปากเปื่อย (เปลือก)
3.เปลือกใช้เป็นยากล่อมเสมหะและอาจม (เปลือก)
4.ผลมีรสฝาด ใช้เป็นยาแก้เสมหะเป็นพิษ (ผล)
5.เปลือกใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้บิดปวดเบ่ง (เปลือก, ผล)หากมีอาการท้องร่วงอย่างแรง เป็นบิด ปวดเบ่ง ท้องเดิน ให้นำผลมารับประทานก็จะหาย (ผล
6.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือก)
7.ใช้เป็นยาคุมธาตุและให้อุจจาระเป็นก้อน แก้อุจจาระเป็นฟอง (เปลือก)
8.ผลใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นมูกเลือด (ผล)
9.เปลือกใช้ภายนอกเอาน้ำต้มเปลือกใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรังและช่วยห้ามเลือด (เปลือก)
สมุนไพรขี้อ้าย
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้อ้าย
สมุนไพรขี้อ้าย
-จากการศึกษาสารสกัดจากลำต้นด้วย 50% แอลกอฮอล์ พบว่ามีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ที่เป็น hydrolysable tannins มีฟลาโวนอยด์ทั้งประเภท anthocyanidin, leucoanthocyanidin, catechin และ aurone และมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ โดยมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง (EC50 = 6.55มก./มล.) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ที่ความเข้มข้น 2-4 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ความเข้มข้น 0.78 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแผลฝีหนอง มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ที่ความเข้มข้น 0.39 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในช่องปาก และต้านเชื้อ V. cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Shigella และ Salmonella ที่ความเข้มข้น 12.5 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงและมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 21.65 มก./มล.)
-สารสกัดจากขี้อ้ายไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีเอนไซม์ แต่สามารถลดฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ของสารมาตรฐานที่ทดสอบได้ดีเมื่อมีการทำงานของเอนไซม์ในตับร่วมด้วย โดยจะมีค่า IC50 เท่ากับ 10.24 และ 8.77 มก./plate นอกจากนี้ยังสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์และบีเซลล์ ที่ความเข้มข้น 3.13-200 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับในระดับปานกลาง (IC50 = 148.7±12.3 มก./มล.) แต่ยังพบว่ามีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติเช่นกัน และยังพบว่ามีความสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตับตายแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน
ดอกขี้อ้าย
ประโยชน์ของขี้อ้าย
1.เปลือกต้นมีรสฝาด นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้กินกับหมากแทนสีเสียดได้
2.เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน ใช้รับประทานได้
3.เปลือกต้นใช้เป็นสีย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลือง
4.น้ำยางใช้หยอดประทานด้ามมีดแทนครั่ง
5.ไม้ขี้อ้ายเป็นไม้เนื้อแข็งค่อนข้างหนัก สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ต่อเรือ หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือกสิกรรมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น