สรรพคุณของกระทือ
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)
- ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร (เหง้า)
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้สามารถรับประทานอาหารมีรสได้ (ต้น)
- ช่วยแก้โรคผอมแห้ง ผอมเหลือง (ดอก)
- ช่วยขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ (ใบ)
- แก้เบาเป็นโลหิต (ใบ)
- มีการใช้เหง้ากระทือในตำรับยา "พิกัดตรีผลธาตุ" ซึ่งประกอบไปด้วย เหง้ากระทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้หอม โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้เลือดกำเดาไหล (เหง้า)
- ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เหง้า)
- กระทือมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ต้น)
- ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง (ดอก)
- ช่วยแก้ไข้ต่าง ๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้ตัวเย็นที่รู้สึกร้อนภายใน (ราก)
- ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (เหง้า)
- ดอกช่วยแก้ลม (ดอก)
- ช่วยแก้บิด บิดป่วงเบ่ง แก้อาการปวดท้อง
อาการปวดมวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับผายลมในลำไส้
ด้วยการใช้หัวกระทือหรือเหง้ากระทือสด ประมาณ 20 กรัม
(ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว) นำมาย่างไฟพอสุก
แล้วนำมาตำเข้ากับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำมาดื่มเมื่อมีอาการ (เหง้า)
- ช่วยกล่อมอาจมหรืออุจจาระ ใช้สูตรเดียวกันกับแก้บิด (เหง้า)
- เหง้าหรือหัวกระทือประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential
oil) ที่ประกอบไปด้วยสาร Methyl-gingerol, Zingerone, และ Citral ซึ่งมีฤทธิ์ในการขับลมได้และไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร
(เหง้า)
- เหง้าช่วยขับปัสสาวะ (เหง้า)
- เหง้ากระทือมีสรรพคุณช่วยแก้ฝี (เหง้า)
- ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก
ด้วยการใช้หัวกระทือนำมาฝนแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการเคล็ด (เหง้า, ราก)
- ช่วยบำรุงและขับน้ำนมของสตรี (เหง้า)
ประโยชน์ของกระทือ
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในสถานที่ต่าง ๆ
- ดอกกระทือสามารถนำไปใช้ปักแจกันเพื่อความสวยงามได้
- กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย แต่สำหรับบางท้องถิ่นก็มีการใช้หัวกระทือในการประกอบอาหาร ซึ่งเนื้อในจะมีรสขมเล็กน้อย ต้องนำมาหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนาน ๆ ก่อนนำมารับประทาน โดยทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน มีการใช้เหง้าไปแกงกับปลาย่างเพื่อใช้รับประทาน
- ในจังหวัดกาญจนบุรีมีการนำดอกแห้งของกระทือและเหง้ากระทือมาใช้รับประทานเป็นผักหรือใส่ในน้ำพริกรับประทาน
- หน่ออ่อนหรือต้นอ่อนกระทือสามารถนำมาทำแกงเผ็ด แกงไตปลา หรือนำไปต้มจิ้มกินกับน้ำพริกได้
- สารสกัดจากกระทือด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ สามารถนำมาใช้ป้องกันและกำจัดเหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้ผลดีกว่าขมิ้นชัน ขิง และไพล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น