สรรพคุณของกระแจะ
- ผลมีรสขมและเฝื่อน ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล, ผลสุก)
- ช่วยบำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น (เปลือกต้น)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผลสุก, เปลือกต้น, แก่น)
- ช่วยแก้อาการผอมแห้ง (แก่น, ผล, ราก)
- แก่นมีรสจืดและเย็น
นำมาดองกับเหล้าใช้กินเป็นยาแก้กษัยได้ (อาการป่วยที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ
ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม และโลหิตจาง) (แก่น, ผล,
ราก)
- แก่นใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตพิการ โรคเลือด (แก่น)
- ใบกระแจะมีรสขมและเฝื่อน
ใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นต้มกินแก้ลมบ้าหมู แต่อีกตำราไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดใด
(ใบ,ผล, ราก)
- ช่วยแก้พิษ (ผล)
- ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้ (ผล, ผลสุก, เปลือกต้น, แก่น,
ราก)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน
ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ต้น)
- ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
ด้วยการใช้แก่นนำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยา (แก่น,เปลือกต้น)
- ช่วยขับเหงื่อ (ราก)
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผล)
- ช่วยขับผายลม (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (ผล)
- รากมีรสขมเย็น ช่วยรักษาโรคในลำไส้ แก้อาการปวดท้องบริเวณลำไส้ใหญ่และบริเวณลิ้นปี่ (ราก
- รากใช้เป็นยาถ่าย เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ (ราก)
- ช่วยในการคุมกำเนิด (ใบ)
- ผลสุกใช้เป็นยาสมานแผล (ผลสุก)
- ช่วยแก้โรคประดง
(เป็นอาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายกับผด จะมีอาการคันมาก
และมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วยเสมอ)
ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ต้น)
- ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามข้อ
แก้อาการเส้นตึงได้ (ต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ใบ)
ประโยชน์ของกระแจะ
- เนื้อไม้สีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน จะมีลักษณะเป็นมันเลื่อม เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ มีความแข็ง น้ำหนักปานกลาง และค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้ หรือจะใช้ทำตู้ ทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันตัวแมลงก็ได้เช่นกัน
- เนื้อไม้หากทิ้งไว้นาน ๆ
จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน ๆ
ชาวพม่าจะนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประทินผิวที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ “ทานาคา” (Thanaka) (ชื่อไม้ชนิดนี้จะเรียกตามชื่อของเทือกเขาตะนาวศรี)
โดยใช้เนื้อไม้นำมาบด ฝน หรือทำให้เป็นผงละเอียด ก็จะได้ผงที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ
ใช้สำหรับทาผิว ทำให้ผิวเนียนสวย ซึ่งสามารถนำมาใช้ผสมในเครื่องหอม “กระแจะตะนาว”
ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในพม่า
หรือเป็นส่วนผสมหลักในเครื่องประทินผิวแบบโบราณได้หลายชนิด ในพม่าจะนิยมใช้เปลือกและไม้นำมาฝนกับน้ำเป็นเครื่องหอมประทิวผิว
โดยจะใช้เปลือกและไม้ฝนผสมกับไม้จันทน์ (Sandalwood)
- รากนำมาฝนกับน้ำสะอาดใช้สำหรับทาหน้าแทนการใช้แป้ง จะทำให้ผิวเป็นสีเหลือง ช่วยแก้สิว แก้ฝ้าได้
- กิ่งอ่อนที่บดละเอียดสามารถนำมาใช้ผสมทำเป็นธูปหรือแป้งที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ได้
ทานาคา
- จากการวิจัยพบว่าต้นกระแจะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า Marmesin
เป็นสารที่ช่วยกรองแสงอัลตราไวโอเลตที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
โดยไปกระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์แมทริกซ์-เมทัลโลโปรตีเนส-1
(matrix-metalloproteinase-1, MMP-1) ซึ่งจะไปตัดกับเส้นใยโปรตีนคอลลาเจนที่มีหน้าที่ช่วยคงความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนังและลดการสังเคราะห์โปร-คอลลาเจน
โดยพบว่าสารสกัดจากลำต้นกระแจะสามารถช่วยยับยั้ง MMP-1 และช่วยเพิ่มการสร้างโปร-คอลลาเจน
- ผงกระแจะและสารสกัดน้ำยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีสาร Suberosin
ที่มีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
รวมทั้งช่วยป้องกันและรักษาสิวได้[5]
- สาวชาวพม่าที่ทำงานตากแดดแต่ยังมีผิวสวยใส
นั่นเป็นเพราะว่าลำต้นของกระแจะมีสารอาร์บูติน (Arbutin) อยู่ประมาณ 1.711 -0.268 มคก./ก.
(เป็นสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินได้
ซึ่งเมลานินเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำด่างดำของผิว)
อีกทั้งกระแจะยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
(เอนไซม์ที่กระตุ้นในการเกิดเม็ดสีเมลานิน)
เรียกได้ว่าร่วมด้วยช่วยกันในการออกฤทธิ์นั่นเอง
- กลิ่นหอมของทานาคาหรือกระแจะนั้นมาจากในกลุ่มคูมาลิน
4
ชนิด (coumarins) ซึ่งเป็นสารที่ไม่มีความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมและไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แต่อย่างใด
- ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของทานาคาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ผงทานาคาบดละเอียดที่สามารถนำมาใช้ได้เลย ไม่ต้องฝนกันให้เหนื่อย ส่วนที่เป็นชนิดครีมเลยก็มี แต่อย่างไรก็ตามควรทดสอบการแพ้กับท้องแขนของเราก่อน หากไม่มีอาการแพ้หรืออาการผิดปกติก็สามารถนำมาใช้กับใบหน้าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น