สรรพคุณของแค
- ยอดแค
อุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง
เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์
สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดอ่อน)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด (ดอก)
- ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
(ใบสด,
ดอกโตเต็มที่)
- ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
- ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก
บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20
กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง
ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ฝัก)
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (ดอก, ยอดแค)
- ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
- ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน
เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส (ดอก, ยอดแค)
- ดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้
ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู
ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โตเต็มที่นำมาล้างน้ำ
แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น (ดอก)
- น้ำคั้นจากรากใช้ผสมกับน้ำผึ้ง
ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า กลางวัน
และก่อนนอน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ลมหัวได้ (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคลมบ้าหมู ด้วยการใช้ใบสด
20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1
ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดและหนักศีรษะ
ด้วยการใช้น้ำคั้นที่ได้จากดอกและใบแคนำมาสูดเข้าจมูกเพื่อช่วยบรรเทาอาการ (ดอก, ใบ)
- ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ยอดอ่อน)
- ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ
ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก
แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น
และช่วงก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน รำมะนาด ด้วยการใช้เปลือกแคนำมาต้มผสมเกลือให้เค็มจัดแล้วนำมาอม (เปลือกแค)
- ช่วยรักษาปากเป็นแผล
แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ
นำมาเคี้ยว 3-5 นาทีแล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 3 วันก็จะหายจากอาการ (เปลือกแค)
- ชาวอินเดียใช้น้ำที่คั้นจากดอกหรือใบ
นำมาสูดเข้าจมูกรักษาโรคริดสีดวงในจมูก ทำให้มีน้ำมูกออกมา (ดอก, ใบ)
- เปลือกของต้นแคน้ำมาคั้นเป็นน้ำรับประทานช่วยแก้อาการท้องร่วง
แก้ท้องเดิน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือดได้
หรือจะนำมาใช้ต้มหรือฝนรับประทานแก้อาการได้ หรือจะใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน นำมาต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน แล้วนำมารับประทานครั้งละ
1-2 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้ตานขโมย
ด้วยการใช้แคทั้งห้าส่วนอย่างละ 1 กำมือ
แล้วใส่น้ำพอท่วมยา หลังจากนั้นต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที
แล้วนำมากินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3
ครั้ง ประมาณ 15 วัน (ทั้งห้าส่วน)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากรสขมของดอกแคช่วยกวาดล้างเมือกในช่องปาก ทำให้ลิ้นเสียความรู้สึก แต่ทำให้อยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น (ดอก)
- สรรพคุณดอกแค ช่วยในการขับถ่าย
ป้องกันอาการท้องผูก (ดอก, ใบ)
- ใบแค ใช้รับประทานช่วยทำให้ระบาย
หรือจะใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก
นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ใบ,
ฝัก)
- ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1
ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
- ช่วยบำรุงและรักษาตับ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตรประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1
ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก, ใบ)
- ช่วยแก้อาการอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวในน้ำ 1 ลิตรประมาณครึ่งชั่วโมง
แล้วกรองเอารากออก ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า
เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1
ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
- เปลือกต้นนำมาใช้ภายนอก
สามารถใช้ทำเป็นยาล้างแผล ชะล้างบาดแผลได้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด 15 นาที ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ล้างแผลวันละ 3
ครั้ง (เปลือกต้น)
- ช่วยรักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้เปลือกต้นแคแก่ ๆ นำมาตากแห้งแล้วฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ใช้ทาแผลเช้าเย็น (ก่อนทาควรใช้น้ำต้มจากเปลือกแคล้างแผลก่อน) จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เปลือกต้น)
- ใบสดนำมาตำละเอียดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)
- ในอินเดียมีการใช้ใบอ่อนเป็นอาหารเสริมบีตา-แคโรทีนอยด์ในผู้ที่ขาดแคโรทีนอยด์
พบว่าหลังจากได้รับอาหารเสริมใบอ่อนแค (Agathi) จะมีปริมาณแคโรทีนในซีรั่มเพิ่มขึ้นในวันที่
7
- ในหนูทดลองที่รับยาและสารสกัดจากใบแคจะมีปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และกรดไจมันอิสระต่ำกว่าหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว (ใบ)
- สารสกัดจากใบแค ช่วยทำให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองกลับสู่สภาวะปกติ ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่มีการใช้ใบแคเพื่อบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้เป็นอย่างดี (ใบ)
- สารสกัดจากเอทานอลของใบแคมีฤทธิ์ช่วยป้องกันตับถูกทำลายในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาด (ใบ)
- ช่วยแก้อาการหัวใจสั่น (ใบ), เปลือกในของต้นใช้อมแก้ลิ้นเป็นเม็ดคันหรือแสบ (เปลือกใน)
(ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ** ที่มาจาก : www.numthang.org)
- ดอกช่วยชะลอความแก่ชรา แก้อาการเวียนศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน ป้องกันโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย
ป้องกันผมร่วง บำรุงผิวพรรณ ป้องกันผิวแห้งแตกหรือริ้วรอย ลดปัญหาเล็บมือ
เล็บเท้าเปราะแตกง่าย ลดอาการซึมเศร้า อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ
รักษาผิวหนังเป็นผื่น บรรเทาอาการของสิวอักเสบ
(ข้อมูลนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ** ที่มาจาก : www.yesspathailand.com)
ประโยชน์ของแค
- ประโยชน์ของต้นแค นิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
- แคเป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย
- ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ
- ไม้ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้
- ลำต้นนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี
- ประโยชน์ของดอกแค ฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน
สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแค, แกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด,
แกงเหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน
ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น
- สำหรับชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย
- บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศจะนิยมกินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว
คุณค่าทางโภชนาการของดอกแคต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 27 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
- ไขมัน 0.04 กรัม
- โปรตีน 1.28 กรัม
- วิตามินบี 1 0.083 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี 2 0.081 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี 3 0.43 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 9 102 ไมโครกรัม 26%
- วิตามินซี 73 มิลลิกรัม 88%
- ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.84 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโพแทสเซียม 184 มิลลิกรัม 4%
%
ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA
Nutrient database)
แต่ข้อมูลจาก สสส. นั้นระบุว่าดอกแค 100 กรัม
จะให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี, เบตาแคโรทีน 0.51
ไมโครกรัม, วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.19 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.5
มิลลิกรัม, วิตามินซี 35 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม
2 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม, และธาตุฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม ซึ่งข้อมูลก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก
ส่วนยอดแค ในปริมาณ 100 กรัมนั้น จะให้พลังงาน
87 กิโลแคลอรี, เส้นใย 7.8 กรัม, เบตาแคโรทีน
8,654 ไมโครกรัม, วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม, วิตามินบี 1 0.28 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.33 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2
มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม
395 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม, และธาตุฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก สสส.)
คำแนะนำในการรับประทานดอกแค
- การนำดอกแคมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อน จะช่วยลดความขมหรือทำให้มีรสขมได้ แต่ถ้าไม่กังวลเรื่องความขมก็ไม่ต้องเด็ดออกก็ได้
- การเลือกซื้อยอดอ่อนและใบอ่อนของแค ควรเลือกเป็นใบสด ไม่ร่วง ส่วนดอกให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ซึ่งยอดอ่อนและใบอ่อนจะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด แต่สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างจะหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้เองจึงจะได้รับประทาน
- ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคนั้น จะมีในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกแคจะมีในช่วงต้นฤดูหนาว
- ดอกแคมีรสเฝื่อน ไม่นิยมรับประทานสด ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปลวกโดยใช้เวลาอันสั้นที่สุด
- การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
แหล่งข้อมูล :
1. เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นพพล
เกตุประสาท), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.), หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (เธียพัฒน์ ศรชัย), เว็บไซต์มูลนิธิหมอชาวบ้าน
2. Medthai.co “แค
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นแค 43 ข้อ ! (ดอกแค)”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/แค/ [18/04/2019]
3. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN),
www.flickr.com (by CANTIQ UNIQUE, Vietnam Plants & The USA. plants, Navida2011, rogerphayao, cpmkutty, zoyachubby)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น