สรรพคุณของกระแจะ
1.ผลมีรสขมและเฝื่อน
ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล, ผลสุก)
2.ช่วยบำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น
(เปลือกต้น)
3.ช่วยทำให้เจริญอาหาร
(ผลสุก, เปลือกต้น, แก่น)
4.ช่วยแก้อาการผอมแห้ง
(แก่น,ผล, ราก)
5.แก่นมีรสจืดและเย็น
นำมาดองกับเหล้าใช้กินเป็นยาแก้กษัยได้ (อาการป่วยที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ
ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม และโลหิตจาง) (แก่น, ผล, ราก)
6.แก่นใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงโลหิต
แก้โลหิตพิการ โรคเลือด (แก่น)
7.ใบกระแจะมีรสขมและเฝื่อน
ใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นต้มกินแก้ลมบ้าหมู
แต่อีกตำราไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดใด (ใบ, ผล, ราก)
8.ช่วยแก้พิษ
(ผล)
9.ช่วยแก้ไข้
ถอนพิษไข้ (ผล, ผลสุก, เปลือกต้น, แก่น, ราก)
10.ช่วยแก้อาการร้อนใน
ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ต้น)
11.ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ด้วยการใช้แก่นนำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยา
(แก่น,เปลือกต้น)
12.ช่วยขับเหงื่อ
(ราก)
13.ช่วยแก้อาการท้องเสีย
(ผล)
14.ช่วยขับผายลม
(เปลือกต้น)
15.ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
อาหารไม่ย่อย (ผล)
16.รากมีรสขมเย็น
ช่วยรักษาโรคในลำไส้ แก้อาการปวดท้องบริเวณลำไส้ใหญ่และบริเวณลิ้นปี่ (ราก)
17.รากใช้เป็นยาถ่าย
เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ (ราก)
18.ช่วยในการคุมกำเนิด
(ใบ)
19.ผลสุกใช้เป็นยาสมานแผล
(ผลสุก
20.ช่วยแก้โรคประดง
(เป็นอาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายกับผด จะมีอาการคันมาก
และมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วยเสมอ)
ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ต้น)
21.ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว
วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามข้อ
แก้อาการเส้นตึงได้ (ต้น)
22.ช่วยแก้อาการปวดข้อ
ปวดกระดูก (ใบ)
ประโยชน์ของกระแจะ
1.เนื้อไม้สีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
จะมีลักษณะเป็นมันเลื่อม เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ มีความแข็ง น้ำหนักปานกลาง
และค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้ หรือจะใช้ทำตู้
ทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันตัวแมลงก็ได้เช่นกัน
2.เนื้อไม้หากทิ้งไว้นาน
ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน ๆ
ชาวพม่าจะนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประทินผิวที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ
“ทานาคา” (Thanaka) (ชื่อไม้ชนิดนี้จะเรียกตามชื่อของเทือกเขาตะนาวศรี)
โดยใช้เนื้อไม้นำมาบด ฝน หรือทำให้เป็นผงละเอียด ก็จะได้ผงที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ
ใช้สำหรับทาผิว ทำให้ผิวเนียนสวย ซึ่งสามารถนำมาใช้ผสมในเครื่องหอม “กระแจะตะนาว”
ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในพม่า
หรือเป็นส่วนผสมหลักในเครื่องประทินผิวแบบโบราณได้หลายชนิด
ในพม่าจะนิยมใช้เปลือกและไม้นำมาฝนกับน้ำเป็นเครื่องหอมประทิวผิว
โดยจะใช้เปลือกและไม้ฝนผสมกับไม้จันทน์ (Sandalwood)
3.รากนำมาฝนกับน้ำสะอาดใช้สำหรับทาหน้าแทนการใช้แป้ง
จะทำให้ผิวเป็นสีเหลือง ช่วยแก้สิว แก้ฝ้าได้
4.กิ่งอ่อนที่บดละเอียดสามารถนำมาใช้ผสมทำเป็นธูปหรือแป้งที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน
ๆ ได้
ทานาคา
-แป้งทานาคาจากการวิจัยพบว่าต้นกระแจะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า
Marmesin เป็นสารที่ช่วยกรองแสงอัลตราไวโอเลตที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
โดยไปกระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์แมทริกซ์-เมทัลโลโปรตีเนส-1 (matrix-metalloproteinase-1,
MMP-1)
ซึ่งจะไปตัดกับเส้นใยโปรตีนคอลลาเจนที่มีหน้าที่ช่วยคงความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนังและลดการสังเคราะห์โปร-คอลลาเจน
โดยพบว่าสารสกัดจากลำต้นกระแจะสามารถช่วยยับยั้ง MMP-1
และช่วยเพิ่มการสร้างโปร-คอลลาเจน
-ผงกระแจะและสารสกัดน้ำยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีสาร Suberosin ที่มีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
รวมทั้งช่วยป้องกันและรักษาสิวได้
-สาวชาวพม่าที่ทำงานตากแดดแต่ยังมีผิวสวยใส
นั่นเป็นเพราะว่าลำต้นของกระแจะมีสารอาร์บูติน (Arbutin)
อยู่ประมาณ
1.711 -0.268 มคก./ก. (เป็นสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินได้
ซึ่งเมลานินเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำด่างดำของผิว) อีกทั้งกระแจะยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
(เอนไซม์ที่กระตุ้นในการเกิดเม็ดสีเมลานิน)
เรียกได้ว่าร่วมด้วยช่วยกันในการออกฤทธิ์นั่นเอง
-กลิ่นหอมของทานาคาหรือกระแจะนั้นมาจากในกลุ่มคูมาลิน
4 ชนิด (coumarins) ซึ่งเป็นสารที่ไม่มีความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรมและไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แต่อย่างใด
-ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของทานาคาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่มากขึ้น
โดยจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ผงทานาคาบดละเอียดที่สามารถนำมาใช้ได้เลย
ไม่ต้องฝนกันให้เหนื่อย ส่วนที่เป็นชนิดครีมเลยก็มี แต่อย่างไรก็ตามควรทดสอบการแพ้กับท้องแขนของเราก่อน
หากไม่มีอาการแพ้หรืออาการผิดปกติก็สามารถนำมาใช้กับใบหน้าได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น