สรรพคุณของหญ้าแฝก
1.รากมีรสหอม
ช่วยทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น (ราก)
2.รากช่วยแก้โรคประสาท
ส่วนกลิ่นของรากช่วยกล่อมประสาท (ราก)
3.น้ำมันหอมระเหยช่วยทำให้นอนหลับ
ทำให้สงบ (น้ำมันหอมระเหย)
4.ช่วยบำรุงโลหิต
(ราก)
5.ช่วยแก้โลหิตและดี
(ราก)
6.รากมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้
แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้อันเกิดแต่ซาง แก้ไข้อภิญญาณ (รากส่วนหัวมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้หวัด
(หัว)
7.ช่วยแก้อาการปวดท้อง
(ราก)
8.ช่วยแก้ท้องร่วง
ท้องเดิน (ราก, หัว)
9.รากใช้เป็นยาขับลมในลำไส้
แก้อาการท้องอืด จุกเสียด ทำให้หาวเรอ (ราก, หัว)
10.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
(ราก, หัว)
11.ช่วยแก้คุดทะราด (ราก)
12.ช่วยแก้ร้อน
(ราก, หัว)
13.ใช้ต้มอาบทำให้กระชุ่มกระชวย
(ราก)
14.ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย
(หัว)
15.รากหญ้าแฝกจัดเป็นส่วนประกอบของตำรับยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยาแก้ลม
เช่น ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" (ตำรับยาแก้ลมกองละเอียด เช่น
อาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น) และในตำรับ "ยาหอมนวโกฐ"
(ตำรับยาแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมปลายไข้)
16.หญ้าแฝกเป็นส่วนประกอบของตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร
เช่น ตำรับ "ยาประสะกานพลู" (ตำรับยาแก้อาการปวดท้อง
จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุไม่ปกติ) และใน
"ตำรับยาเขียวหอม" (ตำรับยาบรรเทาอาการไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด
พิษสุกใส)
17.นอกจากนี้ยังมีปรากฏอยู่ในตำรับ
"ยามโหสถธิจันทน์" (ใช้เข้าเครื่องยาแฝกหอมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีก 15 ชนิด แล้วนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นแท่ง ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสาย
ใช้ชโลมตัวหรือกินเป็นยาแก้ไข้) และยังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย
ที่นำมาใช้เป็นยาลดไข้ แก้กระหาย และแก้อาการปวดศีรษะ
ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเป็นที่รู้จักว่าเป็นน้ำมันที่ช่วยให้ระงับสงบ หรือ “Oil of tranquility”
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแฝก
-องค์ประกอบทางเคมีที่พบ
ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (Vetiver oil) ประมาณ 0.3-1% โดยประกอบไปด้วยสาร vetiverol ประมาณ 50-75%,
alpha-vetivone 4.36%, beta-vetivenene, beta-vetivone, khusimol
-น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ
ทำให้ผิวหนังร้อนแดงอย่างอ่อน ทำให้นอนหลับ ทำให้สงบ
-หญ้าแฝกมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน
ต้านมาลาเรีย ต้านยีสต์ ยับยั้งเชื้อรา ไล่แมลง ฆ่าเห็บโค
-จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากรากหญ้าแฝกด้วยเอทานอล
50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10
กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
หรือคิดเป็น 7,143 เท่า
เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาด
10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ไม่พบว่ามีความเป็นพิษ
1.หญ้าแฝกหอมเป็นพืชที่สะสมน้ำมันหอมไว้ในส่วนของราก
คนไทยสมัยก่อนจึงใช้รากของหญ้าแฝกเป็นเครื่องหอมสำหรับอบเสื้อผ้า
แก้กลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า ใช้ขับไล่แมลง ด้วยการใช้รากแห้งนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า
และยังใช้ผสมกับน้ำมันให้เกิดกลิ่นหอม หรือนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางต่อไป
2.คุณสมบัติของหญ้าแฝก
เนื่องจากภายในของรากหญ้าแฝกมีลักษณะเหมือนกับรากของพืชน้ำ
มันจึงสามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี
จึงนำมาใช้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เพื่อช่วยแก้ปัญหาและป้องกันการพังทลายของดิน
เพื่อป้องกันความเสียหายของชั้นบันไดดินหรือคันคูคลองรับน้ำรอบเขา
เพื่อป้องกันรักษาการกัดเซาะของน้ำจากแม่น้ำบริเวณคอสะพาน
เพื่อป้องกันตะกอนดินลงสู่ทางน้ำ ปลูกเพื่อแก้ปัญหาดินดาน ฟื้นฟูดิน
เพื่อควบคุมมลพิษ รักษาสภาพแวดล้อม หรือใช้ปลูกเป็นแถวตามแนวระดับ ขวางความลาดเท
เป็นต้น
3.ส่วนประโยชน์ของหญ้าแฝกหอมอื่น
ๆ เช่น การนำมาเย็บเป็นตับเพื่อใช้มุงหลังคา ใช้ในคอกสัตว์
รองนอนให้เล้าสัตว์เลี้ยง ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ใช้เพาะเห็ด
ทำเป็นปุ๋ยหมักและพืชคลุมดิน หรือใช้รากนำมาทำพัด
สำหรับพัดให้ความเย็นและให้กลิ่นหอมเย็น และใช้ในงานหัตถกรรมต่าง ๆ ทำเชือก หมวก
ตะกร้า เครื่องประดับ เครื่องตกแต่งบ้าน ของใช้สำนักงาน ไม้อัด งานประดิษฐ์
งานจักสาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น