หน้าเว็บ

กำแพงเจ็ดชั้น (ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของกำแพงเจ็ดชั้น


  1. ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้นช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 1-2 ช้อนชา ช่วงเช้าและเย็น หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอก่อน (ลำต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองเป็นสุราไว้ดื่มก็ได้เช่นกัน (ราก)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  3. ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก (ต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองสุราดื่ม ก็ช่วยดับพิษร้อนของโลหิตเช่นกัน (ราก)
  4. เถากำแพงเจ็ดชั้นช่วยบำรุงหัวใจ (เถา)
  5. รากใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่มช่วยบำรุงน้ำเหลือง (ราก)
  6. ช่วยแก้อาการผอมแห้งแรงน้อย (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)
  7. ช่วยแก้เบาหวาน ด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นสัก รากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู และหญ้าชันกาดทั้งต้น (ต้น) ส่วนในกัมพูชาจะใช้เถาของต้นกำแพงเจ็ดชั้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (เถา)
  8. รากมีรสเมาเบื่อฝาด ใช้ต้มหรือดองกับสุราดื่ม ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (ราก)
  9. รากช่วยรักษาโรคตา (ราก)
  10. ต้นและเถาช่วยแก้ไข้ (ต้น, เถา)
  11. ช่วยแก้ประดง (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก), (เถา)
  12. ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง แก่นจำปา ต้นสบู่ขาว ต้นคำรอก และต้นพลองเหมือด (ต้น)
  13. ช่วยแก้เสมหะ (ต้น)
  14. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาระบาย โดยใช้เข้ากับเครื่องยาคอแลน ตากวง ดูกไส พาสาน และยาปะดง (ลำต้น) หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอด่อน (ต้น) หรือจะใช้รากและแก่นกำแพงเจ็ดชั้น นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้เช่นกัน (แก่น, ราก)
  15. ช่วยขับผายลม (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)
  16. ดอกช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (ดอก)
  17. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้เข้ากับเครื่องยา แก่นตากวง แก่นตาไก้ แก่นตาน แก่นดูกไส และแก่นตานกกด (ลำต้น)
  18. ช่วยแก้มุตกิด ช่วยฟอกและขับระดูขาว ขับน้ำคาวปลาของสตรี ด้วยการใช้ต้นผสมเข้ายากับเปลือกต้นมะดูก หรือจะใช้ใบหรือรากกำแพงเจ็ดชั้นก็ได้เช่นกัน (ต้น, ใบ, ราก)
  19. ในฟิลิปปินส์มีการใช้รากกำแพงเจ็ดชั้นเข้ากับยาแผนโบราณเพื่อช่วยบำบัดอาการปวดประจำเดือน (ราก)
  20. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร โดยใช้เข้ากับเครื่องยา แก่นกระถิน ปูนขาว และว่านงวงช้าง แล้วนำมาต้ม (ลำต้น)
  21. ช่วยแก้น้ำดีพิการ (ต้น)
  22. เถาช่วยแก้ซางให้ตาเหลือง (เถา)
  23. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)
  24. หัวช่วยรักษาบาดแผลเรื้อรัง (หัว)
  25. ช่วยรักษาตะมอยหรือตาเดือน (หัว)
  26. ลำต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดเมื่อย โดยใช้เข้ากับเครื่องยา ตากวง ตาไก่ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเจ่า และอ้อยดำ (ให้ใช้เฉพาะลำต้นของทุกต้นนำมาต้มน้ำดื่ม) หรือจะใช้ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำไปดองกับสุราก็ได้เช่นกัน (ต้น)
  27. แก่นและรากใช้ต้มน้ำดื่มเป็นแก้เส้นเอ็นอักเสบ (แก่น, ราก)
  28. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก)
  29. ในภูมิภาคอินโดจีนใช้เข้ายาพื้นบ้านเพื่อช่วยลดกำหนัดหรือความต้องการทางเพ
ประโยชน์ของกำแพงเจ็ดชั้น
  • นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ผลก็สามารถใช้รับประทานได้เช่นกัน (ผล)
แหล่งอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [14 ต.ค. 2013].
  2. มูลนิธิสุขภาพไทย.  "กำแพงเจ็ดชั้น ไม้ชื่อแปลกช่วยบำรุงโลหิต".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org.  [14 ต.ค. 2013].
  3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์.  อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [14 ต.ค. 2013].
  4. กรมปศุสัตว์.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dld.go.th.  [14 ต.ค. 2013].
  5. เดอะแดนดอตคอม.  "Gallery ดอกกำแพงเจ็ดชั้น".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com.  [14 ต.ค. 2013].
  6. ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  "การศึกษาความหลากหลายพรรณพืชสมุนไพร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร".  (ชัยรัตน์ รัตนดำรงภิญโญ).
  7. ภาพประกอบ : www.the-than.com, www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual), www.flickr.com (by Russell Cumming)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น