หน้าเว็บ

กล้วยน้ำหว้า(ข้อมูลเพิ่มเติม)


การนำมาใช้ประโยชน์
เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีลักษณะลำต้น และใบที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้วยชนิดอื่นๆ จึงนิยมนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
1. กล้วยน้ำว้าสุก
กล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้
กล้วยน้ำว้าสุกใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้ามต้มมัด เป็นต้น
นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน พิธีเข้าพาขวัญ/สู่ขวัญ เป็นต้น
กล้วยดิบหรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลือก และนำผลไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงกล้วยสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน
2. กล้วยน้ำว้าดิบ
นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม
3. ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน
นำมาปรุงอาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น
นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ที่ส่วนมากนิยมใช้เลี้ยงสุกร
4. ปลีกล้วย
ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ เป็นต้น
ผลอ่อนที่ได้จากการตัดปลีกล้วย ใช้จิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดเป้นเครื่องเคียง
5. ใบกล้วยหรือใบตอง
นำมาห่ออาหารหรือห่อปรุงอาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ
ใบกล้วยทีเหลือจากการตัดเครือหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น ใช้เลี้ยงสุกร และโค เป็นต้น
ใบกล้วยใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก
ใบกล้วยใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง เป็นต้น
ใบกล้วยที่แห้งคาต้น คนโบราณหรือคนในชนบทนิยมในปัจจุบันนำมาใช้มวนยาสูบ
6. กาบกล้วย
กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ
7. ก้านกล้วย
ใช้ทำเครื่้องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
น้ำ 75.7 กรัม
พลังงาน 85 แคลอรี่
โปรตีน 1.1 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม
เถ้า 0.8 กรัม
แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม
เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม
วิตามินเอ 190 IU
วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม
ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม
องค์ประกอบเคมีของเปลือกกล้วยน้ำว้า
คาร์โบไฮเดรต 63.6%
เยื่อใย 8.6%
เถ้า 11.7%
ไขมัน 8.6%
อื่นๆ 7.5

สารสำคัญที่พบในกล้วยน้ำว้า
ปลีกล้วย
– serotonin
– noradrenalin
– dopamine
– dopa
– cinnamic acid
– p-coumaric acid
– ferulic acid
– protocatechuic acid
– caffeic acid
– gallic acid
– beta-sitosterol
– stigmasterol
– campesterol
– cyclomusalenol

สรรพคุณกล้วยน้ำว้า
ปลีกล้วย
ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร
ช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ปลีกล้วยมีสารที่ออกฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ป้องกันโรคท้องร่วง ทำหน้าที่ต้านเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ต้านการออกซิเดชันจากสารในกลุ่มฟีนอลิก (Phenolics)
การเพาะขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า
1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีเพิ่มจำนวนกล้าพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นวิธีที่นิยมใช้ในบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะเกษตรกรหรือบริษัทที่ต้องการเหง้าพันธุ์จำนวนมาก ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ต้องการปลูกในพื้นที่ไม่มากจะนิยมปลูกจากเหง้าพันธุ์ที่ขุดจากกอกล้วยเป็นหลัก
2. การแยกหน่อหรือเหง้าปลูก
การแยกหน่อหรือเหง้าปลูก เป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันยังเป็นที่นิยมของเกษตรกร ซึ่งเกษตรอาจหาซื้อเหง้าพันธุ์จากแปลงเกษตรกรอื่นที่ปลูกกล้วยอยู่แล้วหรือขุดเหง้าพันธุ์จากแปลงตัวเองออกขยายปลูกเป็นกอใหม่
การปลูกกล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน แต่ชอบดินร่วน มีอินทรีย์วัตถุ และความชื้นสูง ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง หลังจากการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้วจะให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อปลูกได้ 8-10 เดือน และสามารถแตกหน่อเติบโตให้ผลผลิตทั้งปี
การเตรียมแปลง และหลุมปลูก
พื้นที่ใช้ปลูกหรือแปลงปลูกควรไถพรวนดิน และตากดิน นาน 1-2 อาทิตย์ และกำจัดวัชพืชก่อนปลูก หากปลูกเพียงไม่กี่ต้นให้เตรียมได้เลย
วางแนว และขุดหลุมปลูกในระยะ 4×4เมตร หรือมากกว่า หากที่ระยะถี่กว่านี้จะทำให้ต้นที่แตกใหม่เบียดกันแน่นในปีที่ 2 ขึ้นไป
ขุดหลุมปลูกกว้าง x ยาว x ลึก ที่ 50x50x50 ซม. หรือเกือบ 2 ไม้บรรทัด
กลบหรือโรยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กก./หลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม/หลุม พร้อมปรับดินผสมดินให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของหลุม
คลุกผสมดินกับปุ๋ยให้เข้ากัน

วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้า
นำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก และกลบดินต่ำกว่าผิวดินประมาณ 10 ซม. สำหรับให้น้ำขัง และสำหรับการใส่ปุ๋ยในครั้งต่อไป
การดูแลรักษากล้วยน้ำว้า
การให้น้ำ
การปลูกล้วยน้ำว้า หรือการปลูกกล้วยโดยทั่วไปเกษตรกรจะปล่อยให้ได้รับน้ำจากน้ำฝน แต่หากพื้นที่ปลูกมีสภาพแห้งแล้งจัด และมีระบบชลประทานเข้าถึง เกษตรมักจะสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะเตรียมหลุมปลูก ด้วยการรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กก./หลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม/หลุม หรือประมาณ 1-2 กำมือ
ปุ๋ยคอก หลังการปลูกประมาณ 1-3 เดือน แรก ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น อัตรา 2-3 กก./หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
ปุ๋ยเคมี ระยะหลังปลูกเดือนที่ 5 และ 7 หรือระยะก่อนออกปลี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-24 อัตรา 100-200 กรัม/หลุม โดยการหว่านรอบๆกอ
การตัดต้น และไว้หน่อ
การไว้หน่อจะไว้หน่อเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้น ซึ่งกล้วย 1 กอหรือ 1 หลุม ให้ไว้หน่อหรือต้น 4 ต้น เท่านั้น ด้วยวิธี ดังนี้
หน่อแรกที่ขึ้นหลังจากการปลูกต้นแรกให้ปล่อยไว้ไม่ตัด
หน่อที่ขึ้นต่อมาในระยะ 1-2 เดือน หลังจากการปล่อยหน่อแรกแล้ว ให้ตัดทิ้ง
เมื่อหน่อแรกอายุครบ 3 เดือน ให้ปล่อยหน่อที่ 2 ขึ้น ส่วนหน่ออื่นๆตัดทิ้ง
ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะได้หน่อ และต้นทั้งหมดใน 1 กอ ประมาณ 4 ต้น/ปี จนถึงการตัดเครือกล้วยจากต้นแรก ซึ่งจะทำให้มีหน่อหรือต้นเหลือ 3 ต้น/กอ
การเก็บปลี และผลกล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้าที่ปลูกจากหน่อจะเริ่มออกปลีหรือดอกเมื่อมีอายุหลังการปลูกประมาณ 8 เดือน หลังจากแทงปลีจนสุดแล้วจะเหลือส่วนปลายของดอกที่เรียกว่า ปลีกล้วย และมีระยะหลังการแทงดอก/ปลีกล้วย จนถึงดอกกล้วยบานจนหมดจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน
ปลีกล้วยน้ำว้าจะมีลักษณะเป็นกาบหุ้มดอกหรือใบประดับดอกที่สีแดง หุ้มปกคลุมดอกไว้ โดยดอกที่เหลือจะเป็นดอกที่ไม่พัฒนาเป็นผล ดังนั้น การตัดปลีจะเริ่มตัดได้ เมื่อเห็นผลกล้วยของหวีสุดท้ายหรือที่เรียกว่า หวีตีนเต่า แล้ว
หวีตีนเต่า เป็นหวีที่มีผลกล้วยพัฒนาจนมีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งจะอยู่เหนือหวีกล้วยที่มีลักษณะผลเติบโตหรือพัฒนาไม่เท่ากัน ผลมีขนาดเล็กไม่สม่ำเสมอ
การตัดปลีกล้วยน้ำว้า เกษตรกรจะตัดปลีออกตรงบริเวณข้อด้านล่างของหวีตีนเต่าหรือเหนือหวีกล้วยที่มีผลเติบโตไม่เท่ากันออก
เหตุผลการตัดปลีกล้วยน้ำว้า
ป้องกันไม่ให้ปลีกล้วยบานต่อ ซึ่งหากปลีกล้วยบานต่อจะเกิดการแย่งอาหารจากผลกล้วยด้านบน
ป้องกันไม่ให้ผลกล้วยในหวีที่มีผลขนาดเล็กเจริญต่อ ทำให้สารอาหารถูกส่งไปเลี้ยงเฉพาะปลีกล้วยที่มีผลเติบโตสม่ำเสมอ
เพื่อนำปลีกล้วยไปประกอบอาหารหรือเพื่อการจำหน่าย ซึ่งอาจเป็นผลพลอยได้จากการป้องกันปลีกล้วยบานหรือเป็นวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาประกอบอาหารหรือการจำหน่าย
การเก็บผลกล้วยน้ำว้า
การเก็บผลดิบจะเก็บในขณะที่ยังเห็นเหลี่ยมของผลชัดเจน ซึ่งระยะนี้กล้วยจะแก่ประมาณ 75% ระยะนี้เหมาะสำหรับการนำกล้วยดิบไปแปรรูป หรือส่งออกต่างประเทศ
หลังการตัดปลีแล้ว กล้วยจะเริ่มแก่เต็มที่ และเริ่มสุกภายในเวลาประมาณ 70-80 วัน การเก็บกล้วยก่อนระยะสุก จะเก็บเมื่อผลอวบ ไม่มีเหลี่ยม เป็นระยะสำหรับเก็บจำหน่ายในประเทศเพื่อรับประทานผลสุก ซึ่งผลจะสุกเหลืองภายใน 3-7 วัน
การตัดเครือกล้วยจะใช้วิธีตัดต้นกล้วย ให้ค่อยๆล้มลงแล้วจึงตัดเครือออก การตัดเครือควรตัดที่ต้นเครือหรือให้เครือยาวประมาณ 20-30 ซม.

ระยะการสุกของกล้วยน้ำว้า
ระยะที่ 1 ผลแข็ง เป็นเหลี่ยมชัดเจน เปลือกสีเขียว ทิ้งไว้จะไม่สุก
ระยะที่ 2 ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวออกเหลืองเล็กน้อย
ระยะที่ 3 ผิวเปลือกเปลี่ยนสีเป็นเหลืองมากขึ้น แต่ยังมีสีเขียวมากกว่า
ระยะที่ 4 ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้น และมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว
ระยะที่ 5 ผิวเปลือกบริเวณต้นผลเป็นสีเหลือง ส่วนปลายผลเป็นสีเขียว
ระยะที่ 6 ผิวเปลือกทั่วผลจะมีสีเหลืองทั้งหมด เป็นระยะผลสุกพอดี แต่ยังไม่มีกลิ่น
ระยะที่ 7 ผิวเปลือกมีสีเหลือง และเริ่มมีจุดสีดำหรือน้ำตาล เป็นระยะผลสุกเต็มที่ และเริ่มมีกลิ่นหอม
ระยะที่ 8 ผิวเปลือกมีสีเหลือง และมีสีดำหรือน้ำตาลกระจายทั่วผล เป็นระยะที่ผลสุกมากเกินไป เนื้อกล้วยจะอ่อนนิ่ม มีกลิ่นแรง และจะเริ่มเน่าภายใน 2-3 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น