- ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
- ใบใช้ต้มกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
- เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อาการปวดศีรษะ
หรือจะใช้เนื้อไม้ฝนกับน้ำทาขมับก็แก้ปวดศีรษะได้เช่นกัน (เนื้อ, เมล็ด)
- รากเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)
- เนื้อไม้มีรสเฝื่อน ใช้ฝนกับน้ำกินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใช้เนื้อไม้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้อาเจียน (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
- รากมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ (ราก)
- ช่วยแก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง และแก้อาการสะอึก (ราก)
- ช่วยแก้ลมในท้อง (ราก)
- เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินแก้อาการจุกเสียด (เมล็ด)
- เนื้อในเมล็ดใช้ผสมกับยาอื่นเป็นยาระบายได้ (เนื้อในเมล็ด)
- ใบใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง (ใบ)
- เนื้อในเมล็ดมีรสเมาเบื่อ นำมาบดเป็นผงแล้วปั้นเป็นมัด ใช้กินเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้าย หรือจะใช้เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับยาระบาย ใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือนหรือพยาธิตัวตืด (เมล็ด)
- เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ด ใช้กินเป็นยาแก้หนองใน (เมล็ด)
- เมล็ดและใบมีรสเฝื่อนเมา เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก (เมล็ดและใบ)
- ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบ)
- เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยใส่แผลฝีหนอง ช่วยดับพิษฝี ดับพิษบาดแผล (เมล็ด)
- เมล็ดนำมาฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ (เมล็ด) ส่วนรากช่วยถอนพิษฝี (ราก)
- ใบนำมาต้มกินแก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ (ใบ)
ประโยชน์ของมะกล่ำต้น
- ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน
ใช้กินเป็นผักสดร่วมกับอาหารได้หลายประเภท เช่น ลาบ ส้มตำ น้ำตก
และอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกงก็ได้
โดยคุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนมะกล่ำต้นต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 0.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 0.6 กรัม, ไขมัน 1.51 กรัม, ใยอาหาร 1.7 กรัม, วิตามินเอ 6,155 หน่วยสากล,
วิตามินบี 3 37 มิลลิกรัม
(ข้อมูลจากภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2537)
- เนื้อในเมล็ดนำมาคั่วกินเป็นอาหารว่างได้ โดยจะมีรสมัน
- เมล็ดสามารถนำมาใช้ประดับตกแต่งเสื้อผ้าหรือตุ๊กตาได้
- ไม้มะกล่ำต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิงได้ เพราะเป็นฟืนที่ให้ความร้อนได้สูงถึง 5,191 แคลอรีต่อกรัม
- เนื้อไม้มะกล่ำต้น จะให้สีแดงที่ใช้สำหรับย้อมผ้าได้
- เนื้อไม้ใช้ทำเสาบ้าน ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ทำเรือ เกวียนได้ดี ฯลฯ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งและหนัก
- มีบ้างที่ปลูกมะกล่ำต้นเป็นไม้ประดับ
แหล่งอ้างอิง
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
“มะกล่ำต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 พ.ค. 2014].
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะกล่ำต้น (Ma Klam Ton)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 210.
- หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะกล่ำตาช้าง Red Sandalwood
tree”. หน้า 36.
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะกล่ำต้น”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 144.
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Red sandalwood tree,Coralwood tree,
Sandalwood tree, Bead tree”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.
[14 พ.ค. 2014].
- ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ไพ, มะกล่ำตาไก่”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [14 พ.ค. 2014].
- ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
Steve & Alison1, Yeoh Yi Shuen, Rain and Dust,
poornikannan, Xylopia, Forest and Kim Starr, Ahmad Fuad Morad, Mr. Saiful)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น