สรรพคุณของต้นแสมสาร
- แก่นมีรสขมเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาแก้โลหิต แก้ลม (แก่น)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (ราก) ช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยเจริญธาตุไฟ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ยอดใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน (ยอด)
- ดอกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นอนไม่หลับ (ดอก)
- ช่วยถ่ายกระษัย (แก่น)
- ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้โลหิตกำเดา (แก่น
- ตำรายาไทยใช้แก่นเป็นยาถ่ายเสมหะ ขับเสมหะ (แก่น)ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้เปลือกต้น
- นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับเสมหะ (เปลือกต้น)
- แก่นมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (แก่น)
- ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาถ่าย (ใบ)
- ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นสีต่าง ๆ (แก่น) แก้ปัสสาวะพิการ (แก่น)
- เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
- ช่วยฟอกถ่ายประจำเดือนของสตรี (แก่น) แก้โลหิตประจำเดือนเสีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ใช้บำบัดโรคงูสวัด (ใบ)
- ช่วยรักษาแผลสดและแผลแห้ง (ใบ)
- แก่นมีสรรพคุณช่วยทำให้เส้นเอ็นอ่อนหรือหย่อน (แก้ปวดเมื่อย) (แก่น)
- ช่วยแกลมในกระดูก (แก่น)
- ใบใช้บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว (ใบ)
ประโยชน์ของต้นแสมสาร
- ดอกอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายกับแกงขี้เหล็ก
- เนื้อไม้แสมสารมีความทนทาน เหนียว เสี้ยนตรง ไม่หักง่าย และไม่แข็งมากจนเกินไป ในสมัยก่อนนิยมนำมาใช้ในการต่อเรือ แต่ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือช่าง ทำสลัก เขียง ฝักมีด ฯลฯ หรือนำมาใช้ทำเป็นถ่านไม้และฟืน ซึ่งจะเป็นถ่านที่ให้ความร้อนสูงถึง 6,477 แคลอรี่/กรัม ถ้าเป็นฟืนจะให้ความร้อน 4,418 แคลอรี่/กรัม (มีสถานภาพเป็นไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก.)
- ในปัจจุบันนิยมนำต้นแสมสารมาปลูกเป็นไม้ประดับไว้ตามข้างทางทั่วไป โดยเป็นไม้ขนาดค่อนข้างเล็ก มีทรงพุ่มเป็นเรือดยอดสวยงาม เมื่อยามออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น และหากนำมาปลูกในพื้นที่จำกัด (ขนาดกว้างยาว 3*3 เมตร) ก็จะช่วยเพิ่มความสวยงามได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลทางเภสัชของแสมสาร
-พบว่ามีสารในกลุ่มแอนทราควิโนนอยู่หลายชนิดแก่นแสมสารได้แก่ Chrysophanol และ Cassialoin[3] นอกจากนี้ยังพบ
aloe emodin, aloin, deoxy, benz-(D-E)-anthracen-7-one, 7-(H):
6,8-dihydroxy-4 methyl, betulic acid, bibenzyl, 3,3'-4-trihydroxy, bibenzyl,
3,3'-dihydroxy, cassialoin, cassigarol A,B,C,D,E,F,G, chrysophanic acid,
chrysophanol dianthrone, quercetin, piceatannol, piceatanol, protocatechuic
aldehyde, scirpusin B, rhamnetin, rhamnocitrin
-แสมสารมีฤทธิ์ด้านฮีสตามีน ด้านการบีบตัวของลำไส้
เมื่อนำมาผสมในยาทำให้แท้ง ทำให้มดลูกคลายตัว และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง
เป็นพิษต่อตัวอ่อน กระตุ้นมดลูก ต้านมะเร็ง มีฤทธิ์เหมือน Lectin ยับยั้งเอนไซม์ H+,H+-ATPase
และ lipoxygenase หยุดการขับน้ำย่อย
-จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารกสัดจากแก่นแสมาสารด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ
ในอัตรา 1:1 หรือฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูถีบจักรทดลองในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น