สรรพคุณของเล็บเหยี่ยว
- ตำรายาไทย
จะใช้รากและเปลือกต้นนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน (ราก,เปลือกต้น)
- ลำต้นเล็บเหยี่ยวตากแห้ง ใช้ผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพานควาย แก่นฝาง ข้าวหลามดง จะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง ม้ากระทืบโรง ไม้มะดูก และหัวยาข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุไว้ว่าข้าวเย็นเหนือ หรือข้าวเย็นใต้) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง และแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
- คนเมืองจะใช้ลำต้นเล็บเหยี่ยวมาผสมกับข้าวหลามดง และปูเลย ปรุงเป็นยาช่วยทำให้มีกำลังหลังจากฟื้นไข้ (ลำต้น)
- ผลมีรสเปรี้ยวหวาน ฝาดและเย็น
มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ (ผล) ส่วนตำรับยาแก้ไอ
จะใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากหญ้าคา และรากหญ้าชันกาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ
(ราก)
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)
- รากมีสรรพคุณช่วยในการย่อย และรักษาภาวะกรดเกิน (ราก)
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร (ราก)
- ประเทศอินเดียจะใช้รากเป็นยาขับพยาธิตัวกลม (ราก)
- รากและเปลือกต้นมีรสจืดเฝื่อนเล็กน้อย
นำมาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,เปลือกต้น)
- รากและเปลือกต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาขับระดูขาวของสตรี
(ราก,เปลือกต้น)
- ช่วยแก้ฝีมุตกิด และฝีในมดลูกของสตรี
ด้วยการใช้รากและเปลือกต้นนำมาต้มดื่ม (ราก,เปลือกต้น)
- ช่วยแก้มดลูกพิการ ด้วยการใช้รากและเปลือกต้นนำมาต้มดื่ม
(ราก,เปลือกต้น)
- ตำรับยาแก้ผิดสาบ จะใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากชะอม รากรางแดง รากสามสิบ แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง และเขากวาง นำมาฝนใส่ข้าวจ้าวกินแก้ผิดสาบ (ราก)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาช่วยสมานแผล ฆ่าเชื้อ (ราก)
- รากใช้ฝนกับน้ำทาแก้เล็บที่ห้อเลือด (ราก)
- รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาทาแก้ฝี (ราก)
- ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากกำจาย รากดังดีด รากคนทา รากทองกวาว รากมะแว้งต้น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว นำมาตำให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาประคบแก้ตะคริวบริเวณที่เป็น (ราก)
ประโยชน์ของเล็บเหยี่ยว
- ผลเล็บเหยี่ยวแก่มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้
- ข้อมูลจากเว็บไซต์ plugmet.orgfree.com ได้ระบุไว้ว่า ใบและยอดอ่อนสามารถนำมาจิ้มน้ำพริกกินแก้โรคนิ่วได้ ส่วนรากนำมาต้มกินยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว และยังใช้รากนำผสมกับสารส้ม ต้มกินแก้อาการอวัยวะเพศแข็งตัวค้าง ส่วนชาวพม่าจะใช้เปลือกต้นมาต้มกินเป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้มดลูกอักเสบติดเชื้อ และใช้เป็นยาบ้วนปาก แก้อาการเจ็บคอ (ส่วนนี้ไม่ยืนยันความถูกต้องนะครับ เพราะข้อมูลค่อนข้างจะแตกต่างจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ และยังไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น