หน้าเว็บ

หว้า (ข้อมูลเพิ่มเติม)

ประโยชน์ของหว้า

  • ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ผลดิบ)
  • ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ)
  • ผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก)
  • ใช้รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า)
  • นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ (เปลือกและใบหว้า)
  • แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น (เปลือกและใบหว้า)
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  • ลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ (ผล)
  • ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรคและโรคปอดได้ ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด รับประทานเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น (ผล)
  • ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ (ผลสด)
  • ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ (ผล)
  • มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น้ำมันหอมระเหย)
  • ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อยต่าง ๆ (น้ำมันหอมระเหย)
  • ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำมันหอมระเหย)
  • ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
  • ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด (น้ำมันหอมระเหย)
  • มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (น้ำมันหอมระเหย)
  • ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  • ใบและเมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  • น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
  • ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
  • ประโยชน์ของลูกหว้า ผลสุกนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ (ผลสุก)
  • เนื้อไม้ของต้นหว้าสามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย (ต้นหว้า)

คุณค่าทางโภชนาการของลูกหว้าดิบต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 60 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
  • เส้นใย 0.6 กรัม
  • ไขมัน 0.23 กรัม
  • โปรตีน 0.995 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.019 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.009 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 3 0.245 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินซี 11.85 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุแคลเซียม 11.65 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 1.41 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 35 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 15.6 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 55 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโซเดียม 26.2 มิลลิกรัม 2%


% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

แหล่งอ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น