ประโยชน์ของเขยตาย
- ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน
- ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ
- เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร
สรรพคุณของเขยตาย
- ใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน (ใบ)
- รากมีรสเมาขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ (ราก)
- รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้
(ราก,
ใบ)
- รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคบิดท้องเดิน
(ราก,
ใบ)
- ในบังกลาเทศจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำตาล ใช้กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ (ใบ)
- เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนม (เนื้อไม้, เปลือกต้น, ราก)
- น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินตอนท้องว่างเป็นยาแก้โรคตับ (ใบ)
- เปลือกต้นมีรสเมาร้อน
ใช้เป็นยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก (เนื้อไม้, เปลือกต้น)
- รากใช้ฝนทาแก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ (ราก)
- ใบนำมาบดผสมกับขิง ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ (ใบ)
- รากใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก ใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษงู (จากงูที่มีพิษไม่รุนแรง) พิษตะขาบกัด พิษปลาดุกแทง ปลาแขยงปักมือ ฯลฯ หรือจะนำรากมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอกทิ้งไว้สักครู่ก็ได้ อาการก็จะหาย (ราก) หรือใช้เปลือกต้นเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้ (เปลือกต้น)
- ใบนำมาขยี้หรือบดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์หรือน้ำมะนาว ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ (ใบ)
- ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด (ราก)
- ดอกและผลมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้หิด (ดอกและผล)
- ข้อควรระวัง : ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเขยตาย
- ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine
เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่น ๆ
- รากเขยตายมีสารอัลคาลอย์ carbazole
alkaloids ได้แก่ glycozolicine, 3-formylcarbazole,
glycosinine, glycozoline, glycozolidine, gamma-fagarine, dictamine, skimmianine
- ใบเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborine,
arborinine, glycosine, glycosminine, glycosamine, glycorine, glycosmicine ,
gamma-fagarine สารกลุ่มไตรเทอร์ปีน เช่น arbinol,
arborinone, isoarbinol สารสเตียรอยด์ β-sitosterol, stigmasterol
- ดอกเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborine,
arbornine, glycorine, glycophymine, glycophymoline, glycosmicine, glycomide,
skimmianine
แหล่งอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “เขยตาย (Khoei
Tai)”. หน้า 69.
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “เขยตาย”. หน้า 98.
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์
เที่ยงบูรณธรรม). “เขยตาย”. หน้า 152-153.
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เขยตาย”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [27 ม.ค. 2015].
- อภัยภูเบศรสาร ปีที่ 3 ฉบับที่ 28 ประจำเดือน มีนาคม 2548. (ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร). “เก็บป่ามาฝากเมือง”. หน้า 2.
- เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
- ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เขยตาย”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [27 ม.ค. 2015].
- พันธุ์ไม้สวนพืชอาหารแมลง, ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1.
“ชื่อพืชอาหารต้นส้มชื่น (เขยตาย)”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/FOREMIC/. [27 ม.ค. 2015].
- จำรัส เซ็นนิล. “เขยตายแม่ยายปรก "สมุนไพรถอนพิษ
เริม-งูสวัด-ไฟลามทุ่ง-ขยุ้มตีนหมา”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.jamrat.net. [27 ม.ค. 2015].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
Ross Bayton, Dinesh Valke, Siddarth Machado, andreas lambrianides, Ahmad Fuad
Morad)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น