หน้าเว็บ

เขยตาย (ข้อมูลเพิ่มเติม)


ประโยชน์ของเข็มป่า
  • ดอกเข็มป่า ชาวลั้วะจะนำมาใส่ในกรวยดอกไม้เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้ผี
  • ดอกนำมาแช่กับน้ำใช้เหมือนเครื่องสำอางหลังการอาบ

สรรพคุณของเข็มป่า

  • ดอกมีรสฝาดเย็น ช่วยแก้ตาแดง ตาแฉะ (ดอก)
  • เปลือกต้นมีรสเมาเบื่อ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหูฆ่าแมงคาเข้าหู (เปลือกต้น)
  • ใบใช้เป็นยารักษาโรคในจมูก (ใบ)
  • ผลมีรสเมาเบื่อ เป็นยาแก้ริดสีดวงงอกในจมูก (ผล)
  • รากมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้เสมหะในทรวงอกและในท้อง (ราก)
  • โคนต้นและรากนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย (โคนต้นและราก)
  • รากนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้บิด (ราก)
  • ใบมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ (ใบ)
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ใบและราก)
  • ใบและรากใช้เป็นยาพอกฝี (ใบและราก)
  • ใบและรากใช้เป็นยารักษาโรคหิด (ใบและราก)
แหล่งอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “เข็มป่า (Khem Pa)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 67.
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “เข็มป่า”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [08 เม.ย. 2014].
  3. สวนสวรส.  “ไม้พุ่ม3”  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.suansavarose.com.  [08 เม.ย. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by satish nikam, sushantmore94@gmail.com, Shubhada Nikharge, Plant.Hunter)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น