สรรพคุณของยางนา
1. ตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย
ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ
(เปลือกต้น)
2.
น้ำมันยางใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium
tuberosum Rottler ex Spreng.) นำมาคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด
ใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ (น้ำมันยาง)
3.
เมล็ดและใบมีรสฝาดร้อน นำมาต้มใส่เกลือ
ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน (เมล็ด, ใบ)
4.
ใช้น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน
แล้วนำมารับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี
หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้ (น้ำมันยาง)
5.
ใบและยางมีรสฝาดขมร้อน
ใช้รับประทานกินเป็นยาขับเลือด ตัดลูก (ทำให้เป็นหมัน)
6.
น้ำมันยางดิบมีรสร้อนเมาขื่น
มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ (น้ำมันยางดิบ)
7.
น้ำมันยางจากต้นมีรสร้อนเมาขื่น
มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน
แก้โรคหนองในและเป็นยากล่อมเสมหะ (น้ำมันยาง)
ประโยชน์ของยางนา
1.
น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น
ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้
ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง (ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง
หรือทำเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับน้ำมันยาง
แล้วนำมาห่อด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ
หรือใส่กระบอก)[1]ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์
2.
น้ำมันยางเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย
ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังมีการเก็บหากันอยู่
แต่ก็ยังไม่พอใช้จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มเติม
3.
เนื้อไม้ยางนาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี
ยิ่งเมื่อนำมาอาบน้ำยาให้ถูกต้องก็จะช่วยทำให้มีความทนทานมากขึ้น
สามารถนำไปใช้กับงานภายนอกได้ทนทานนับ 10 ปี ด้วยเหตุที่ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่
เปลาตรง สูง และไม่ค่อยมีกิ่งก้าน การตัดไม้ยางนามาใช้จึงได้เนื้อไม้มาก โดยเนื้อไม้ที่ได้จะมีความแข็งปานกลาง
สามารถนำมาเลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากไม้ยางนากันมาตั้งแต่อดีต
โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน รอด ตง ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน
เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง
รวมไปถึงตัวถังเกวียน ถังไม้ หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ
แต่ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ยางนาที่สำคัญคือการนำไปทำเป็นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด
จนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศบางส่วนด้วย
4.
ลำต้นใช้ทำไม้ฟืน ถ่านไม้
5.
ไม้ยางนาจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซาส์
(Micorrhyzas) ซึ่งเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโต
โดยเชื้อราเหล่านี้จะสร้างดอกเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
โดยเฉพาะในช่วงฝนแรกของทุกปีจะมีดอกเห็ดหลายชนิดให้หาเก็บมารับประทานได้มากมาย
เช่น เห็ดชะโงกเหลือง เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดยาง เป็นต้น
6.
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน
เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม
ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น