หน้าเว็บ

ชิงชี่ (ข้อมูลเพิ่มเติม)

สรรพคุณของต้นชิงชี่      


  1. ทั้งต้นมีรสขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)
  2. ใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (คือไข้ที่มีอาการวิงเวียน ตาลาย เลือดกำเดาไหล แน่นหน้าอก เกิดขึ้นร่วมกัน) ไข้พิษฝีกาฬ (ฝีกาฬคือฝีที่เกิดบริเวณนิ้วมือ สีดำ ทำให้มีอาการปวดศีรษะและแสบร้อนมาก อาจทำให้แน่นิ่งไปได้) (ใบ)
  3. รากและใบช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว (อาการไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส (ราก, รากและใบ)
  4. ช่วยรักษาไข้เพื่อดีและเลือด มักจะใช้ได้ดีในตอนต้นไข้ (ราก
  5. ใบใช้เข้ายาอาบ รักษาโรคประดง (อาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมาก และมักมีไข้ร่วมด้วย) (ใบ, ดอก)
  6. รากมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ร้อนภายในทุกชนิด แก้ไข้เพื่อดีและโลหิต (ราก) รากและใบใช้เป็นยาระงับความร้อน (รากและใบ)
  7. รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้โรคและรักษาดวงตา (ราก)
  8. รากและใบใช้เป็นยาแก้หืด (ราก, รากและใบ)
  9. เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบและอาการอักเสบที่เยื่อจมูก (เนื้อไม้)
  10. ผลใช้รักษาโรคที่เกิดในลำคอ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ (ผล)
  11. เมล็ดนำมาคั่วเป็นยาแก้ไอ (เมล็ด)
  12. ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไออันเนื่องมาจากหลอดลมอักเสบ (ราก)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บในทรวงอก (รากและใบ)
  14. ใบนำมาเผาสูดเอาควันเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)
  15. รากมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาขับลมภายในให้ซ่านออกมา (ราก)
  16. รากใช้เป็นยารักษาโรคที่เกิดในท้อง (ราก)
  17. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ (ราก)
  18. รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  19. ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ (ราก)
  20. ยาชงของเนื้อไม้ใช้เป็นยากลางบ้าน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคกระเพาะและแก้อาการวิงเวียนศีรษะได้อีกด้วย (เนื้อไม้)
  21. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)
  22. ใบใช้ต้มกับน้ำอาบหรือต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคผิวหนังได้ดี (ใบ)
  23. ใช้เป็นยารักษามะเร็ง (แผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม และรักษายาก) (ราก, ดอก)
  24. ใช้ต้นหรือทั้งต้นนำมาตำพอกแก้อาการช้ำบวมฟกบวม หรือจะใช้รากและใบตำพอกแก้อาการฟกช้ำบวมก็ได้เช่นกัน (ต้น, ทั้งต้น, รากและใบ)
  25. ใบใช้เข้ายาอาบหรือต้มดื่มแก้ตะคริว (ใบ)
  26. ช่วยรักษาอาการชาตามร่างกาย (ใบ)
  27. รากชิงชี่จัดอยู่ในตำรับยา 'พิกัดเบญจโลกวิเชียร" หรือตำรายาแก้วห้าดวงหรือยาห้าราก ซึ่งเป็นตำรับยาที่ได้จากรากของสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ รากชิงชี่ รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร รากเท้ายายม่อม และรากย่านาง โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ต่าง ๆ ช่วยกระทุ้งพิษและถอนพิษต่าง ๆ (ราก
  28. รากใช้เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี (ราก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น