ตับเต่า (ข้อมูลเพิ่มเติม)
สรรพคุณของตับเต่าต้น
- ตำรับยาไทยมักใช้ร่วมกับตับเต่าน้อย
(ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia debilis (Pierre) Finet & Gagnep
วงศ์ ANNONACEAE) เรียกว่า
"ตับเต่าทั้งสอง" แก่นและรากใช้ต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้
ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง (แก่น, ราก)
- แก่นและรากมีรสฝาดเอียนเล็กน้อย
ใช้เป็นยาแก้วัณโรค ด้วยการนำมาต้มกับน้ำกิน (แก่น, ราก
- เปลือกใช้เป็นยารักษาโรครำมะนาด (เปลือกต้น)
- น้ำต้มจากแก่นและรากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงปอด
(แก่น,
ราก)
- ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้เปลือกต้น
ผสมกับลำต้นเฉียงพร้านางแอ และลำต้นหนามแท่ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง
(เปลือกต้น)
- รากตับเต่าต้น ใช้ผสมกับรากโคลงเคลงขน
และหญ้าชันกาดทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด
(ราก)
- เปลือกใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
- ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นตับเต่าต้น
ผสมกับรากขี้เหล็ก รากสลอด และรากหญ้าเรงชอน
นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)
- ใช้แก่นตับเต่าต้น 2 กำมือ
นำมาต้มให้สตรีหลังคลอดดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ตลอดช่วงที่อยู่ไฟเป็นยาบำรุงเลือด
(แก่น)
- เปลือกต้นและใบตับเต่าต้น
ใช้ผสมกับลำต้นตับเต่าเครือ ใบหรือรากกล้วยเต่า และผักบุ้งร้วมทั้งต้น
นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยารักษาโรคมะเร็งในตับ (เปลือกต้น, ใบ)
- รากใช้ปรุงเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง (ราก)
ประโยชน์ของตับเต่าต้น
- ผลตับเต่าต้นนำมาตำผสมกับน้ำใช้เป็นยาเบื่อปลา
- ผลใช้สำหรับย้อมสีผ้า
- กิ่งสดนำมาทุบใช้สีฟันทำให้เหงือกและฟันทน
- ลำต้นที่มีขนาดใหญ่ของต้นตับเต่าต้น สามารถนำเนื้อไม้มาใช้สร้างบ้าน ใช้ทำเครื่องมือขนาดเล็กได้ ส่วนกิ่งใช้สำหรับทำฟืน
- เนื้อไม้และเปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น