สรรพคุณของสะแกนา
- ต้นและใบใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่าง ๆ
(ต้น,ใบอ่อน) เมล็ดมีสรรพคุณแก้มะเร็ง (เมล็ดแก่) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้มะเร็งที่ตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร
และกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
- เมล็ดมีสรรพคุณแก้ซาง ตานขโมย (เมล็ดแก่) ทั้ง 5 ส่วน มีรสเมาใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย
พุงโรก้นปอด (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ผอมแห้ง (เมล็ด, ราก)
- ใบอ่อนมีรสฝาดเมา สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบอ่อน)
- ใช้เป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม (เมล็ด, ราก)
- ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
- ช่วยแก้เสมหะ (ราก)
- ต้นและรากมีรสเมา มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียนเป็นโลหิต
(ต้น,ราก)
- เมล็ดมีรสเบื่อเมานำเมล็ดมาตำ
(ให้ใช้เมล็ดแก่ในขนาด 1 ช้อนคาว หรือประมาณ 3 กรัม หรือใช้เมล็ดประมาณ 15-20
เมล็ด นำมาสับให้ละเอียด) ผสมกับไข่ทอดให้เด็กกินเพียงครั้งเดียวขณะท้องว่าง
เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็กได้ดีมาก
โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายออกมาก็ให้รับประทานยาถ่ายเอาตัวออกมา
(เมล็ดแก่) กระพี้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย (กระพี้) ส่วนรากมีรสเมาใช้เป็นยาเบื่อพยาธิเด็ก ฆ่าพยาธิ ขับพยาธิ (ราก) ทั้ง 5 ส่วนมีรสเมา สรรพคุณเป็นยาขับพยาธิในท้อง (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้บิดมูกเลือด (ใบอ่อน)
- รากมีรสเมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลาม (ราก)
- ช่วยแก้มูกเลือด ตกมกลูก (ราก)
- ช่วยแก้อุจจาระหยาบ เหม็นคาว (ทั้งต้น)
- กระพี้มีรสเบื่อร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้คันทวารเด็ก (กระพี้)
- ช่วยแก้ริดสีดวง (ราก, ราก)
- ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของขังหวัดอุบลราชธานี จะใช้ลำต้นเข้ายากับเบนโคก และเบนน้ำ เป็นยาแก้ปวดมดลูกและมดลูกอักเสบ (ลำต้น)
- เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้กามโรคหนองใน แก้แผลในที่ลับ
เข้าข้อออกดอก (ต้น) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรคที่เข้าข้อออกดอก หนองใน (ราก)
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก)
- ใบอ่อนใช้เป็นยารักษาแผลสด แก้บาดแผล (ใบอ่อน)
- ช่วยแก้คุดทะราด (เมล็ดแก่)
- ต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาฝี (ต้น)
- ช่วยรักษาฝีมะม่วง ฝีต่าง ๆ (ราก)
- ช่วยแก้ฝีตานซาง (ทั้งต้น)
- ใบอ่อนใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ใบอ่อน)
หมายเหตุ :
เราสามารถใช้เมล็ดสะแกนาเป็นยาได้โดยตรง โดยไม่ต้องนำมาแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์
และสามารถเก็บเมล็ดสะแกนาไว้ใช้เป็นยาได้หลายปีโดยไม่เป็นอันตราย
แต่ต้องเก็บเมล็ดสะแกนาแล้วปิดให้สนิทและแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้น
และการนำมาใช้ห้ามใช้เกินกว่าขนาดที่กำหนดเด็ดขาด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสะแกนา
- ในเมล็ดสะแกนามีสารจำพวก Flavonoid
ที่ชื่อว่า Combretol และมี Bsitosterol,
Carboxylic acid, Penacyclic, Triterpene เป็นต้น
ส่วนในรากกับเมล็ดรวมกันมี Pentacyclic triterpen carboxylic acid ซึ่งได้แก่ 3B,6B,18B-trihydroxyurs-12-en-30-oic และ B-sitosterol,
B-sitosterol glucoside เป็นต้น
- สารสกัดชั้นเอทานอลสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ
HIV-1 (IC100 : 12.5 mcg/ml) และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
HIV-1 integrase ได้ (IC50 : 2.5 mcg/ml) (เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
- สารสกัดเมทานอลจากใบสะแกนา
แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้ตับถูกทำลายด้วย D-galactosamine,
Lipopolysaccharide และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine
และ tumor necrosis factor-Alpha โดยสามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบสะแกนาได้มากกว่า
30ชนิด และพบว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์และไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (cycloartane
-type triterpenes) ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการทำลายตับ
- สารสกัดด้วยเมทานอลจากเมล็ดสะแกนา
มีฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity) เมื่อทำการทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย
D-galactosamine และ tumor necrosis factor-Alpha เมื่อนำสารสกัดเมทานอลมาแยกให้บริสุทธิ์จะได้สารกลุ่ม triterpene
glucosides ชนิดใหม่ ซึ่งแสดงฤทธิ์ปกป้องตับคือสาร quadranosides
1,2 และ 5 ที่ความเข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ โดยสารทั้ง 3 แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเซลล์ตับได้
37.6, 40.9, และ67.5% ตามลำดับ
- เมื่อให้วัวกินเมล็ดสะแก
พบว่าจำนวนไข่ของพยาธิตัวกลมชนิด Neoascaris vitulorum ลดลงจนไม่พบอีกใน 1-3 สัปดาห์ต่อมา
แต่มีผู้พบว่าเด็กนักเรียนที่กินเมล็ดสะแกนาชุบไข่ทอดในขนาด 1.5-3 กรัม
ไม่ให้ผลในการขับพยาธิเส้นด้าน และมีอาการข้างเคียง คือ มีอาการมึนงงและคลื่นไส้
และเมื่อให้ไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีเมล็ดสะแกนาเป็นส่วนผสมในอัตรส่วน 1 กรัม ต่อ
น้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาถ่ายพยาธิเปอราซิน (piperazine)
ในขนาด 15 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวไก่ 1 กิโลกรัม
ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดสะแก่นาเป็นส่วนผสมในอาหาร
สามารถกำจัดพยาธิไส้เดือน (Ascaridia galli) ได้ 63%
ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาถ่ายพยาธิสามารถกำจัดพยาธิไส้เดือนได้ 100%
- จากการทดสอบความเป็นเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดสะแกนาด้วยเมทานอล 80% ด้วยการป้อนเข้าทางปากหนูเม้าส์เพศผู้และเพศเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีพิษปานกลางและทำให้สัตว์ทดลองตาย ส่วนการทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูเพศผู้และเพศเมีย เมื่อให้สารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับน้ำหนักในการเจริญเติบโต แต่ไม่มีผลต่อตับเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เมล็ดเมื่อให้ทางปากกับหนูแรทและหนูเม้าส์ในขนาด 0.582 และ 1.985 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อครั่ง พบว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
- นอกจากนี้ยังได้ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดด้วยเอทานอล
80% โดยให้ทางปากกับหนูเม้าส์เพศผู้และเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย
พบว่ามีพิษปานกลาง และทำให้สัตว์ทดลองตาย
แต่เมื่อฉีดสารสกัดเข้าทางช่องท้องหนูพบว่ามีพิษมาก และทำให้สัตว์ทดลองตาย
ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน ด้วยการป้อนสารสกัดทางปากทุกวัน ในขนาดวันละ
0.5,
1, และ 2 กรัมต่อกิโลกรัม
พบว่าหนูเม้าส์ไม่สามารถทนสารสกัดดังกล่าวในขนาด 1 และ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้
จากการตรวจสอบอวัยวะภายในพบว่ามีเลือดคั่งที่ลำไส้ ตับและไต ลำไส้โป่งบวม
พบก้อนเลือดในหลอดเลือดต่าง ๆ พบภาวะเลือดคั่ง และมีเลือดออก ส่วนหนูแรทนั้นสามารถทนสารสกัดในขนาดวันละ
2 กรัมต่อกิโลกรัมได้นานถึง 1 สัปดาห์ โดยไม่แสดงอาการผิดปกติ
- ส่วนการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกองวิจัยทาวการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าเมื่อให้เมล็ดสะแกนาในขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัมเข้าทางปาก สัตว์ทดลองจะมีอาการขาลาก ตาโปนแดง และตายเมื่อเพิ่มขนาดของยา ดังนั้นการนำมาใช้ในคนจึงต้องระวังเรื่องขนานของยาที่ใช้ให้มาก
ประโยชน์ของสะแกนา
- ผลดิบนำมาแช่กับน้ำไว้ให้วัวหรือควายกินเป็นยาขับพยาธิได้
- ชาวบ้านมักจะเอาต้นสะแกนาไปทำฟืนกันมาก เพราะแก่นของต้นสะแกนามีความแข็งมากนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น