สรรพคุณของราชพฤกษ์
ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย (เปลือก)
สารสกัดจากลำต้นและใบของราชพฤกษ์มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
(ลำต้น,
ใบ)
สารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
(เมล็ด)
ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือถุงน้ำดี (ราก)
ราชพฤกษ์มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ราก)
ฝักราชพฤกษ์มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้ไข้มาลาเรีย
(ฝัก)
ช่วยแก้ไข้รูมาติกด้วยการใช้ใบอ่อนนำมาต้มกับน้ำดื่ม
(ใบ)
ฝักอ่อนมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย
มีกลิ่นเหม็นเอียน เย็นจัด สรรพคุณสามารถใช้ขับเสมหะได้ (ฝักอ่อน)
ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ฝัก)
เปลือกเมล็ดและเปลือกฝักมีสรรพคุณช่วยถอนพิษ
ทำให้อาเจียน หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 5-6 เมล็ด
นำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานก็ได้ (เมล็ด, ฝัก)
ต้นราชพฤกษ์ สรรพคุณของกระพี้ใช้แก้อาการปวดฟัน
(กระพี้)
ในอินเดียมีการใช้ฝัก เปลือก ราก ดอก
และใบมาทำเป็นยา ใช้เป็นยาแก้ไข้และหัวใจ แก้อาการหายใจขัด ช่วยถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
แก้อาการซึมเศร้า หนักศีรษะ หนักตัว ทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก (เปลือก, ราก, ดอก, ใบ,
ฝัก)
สรรพคุณราชพฤกษ์ช่วยแก้โรครำมะนาด (กระพี้, แก่น)
ช่วยรักษาเด็กเป็นตานขโมยด้วยการใช้ฝักแห้งประมาณ
30
กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ฝัก)
ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เนื้อในฝัก)
ฝักแก่ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
ทำให้ถ่ายได้สะดวก ไม่มวนท้อง แก้อาการท้องผูก
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ และสตรีมีครรภ์ เพราะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone
glycoside) เป็นตัวช่วยระบาย สำหรับวิธีการใช้ ให้ใช้ฝักแก่ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ
(หนักประมาณ 4 กรัม) และน้ำอีก 1 ถ้วยแก้วใส่หม้อต้ม แล้วผสมเกลือเล็กน้อย
ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าหรือช่วงก่อนนอนเพียงครั้งเดียว (ฝักแก่, ดอก, เนื้อในฝัก, ราก,
เมล็ด)
เมล็ดมีรสฝาดเมา สรรพคุณช่วยแก้ท้องร่วง (เมล็ด)
ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและแผลเรื้อรัง
(ดอก)
ช่วยรักษาโรคบิด (เมล็ด)
สรรพคุณของราชพฤกษ์ ฝักช่วยแก้อาการจุกเสียด
(ฝัก)
ช่วยทำให้เกิดลมเบ่ง
ด้วยการใช้เมล็ดฝนกับหญ้าฝรั่น น้ำดอกไม้เทศ และน้ำตาล แล้วนำมากิน (เมล็ด)
ฝักและใบมีสรรพคุณช่วยขับพยาธิ
ด้วยการใช้ฝักแห้งประมาณ 30 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ,
ฝัก, เนื้อในฝัก)
ต้นคูณมีสรรพคุณช่วยขับพยาธิไส้เดือนในท้อง
(แก่น)
เปลือกฝักมีรสเฝื่อนเมา ช่วยขับรกที่ค้าง
ทำให้แท้งลูก (เปลือกฝัก)
สารสกัดจากใบคูนมีฤทธิ์ช่วยต้านการเกิดพิษที่ตับ
(ใบ)
สรรพคุณของคูน รากใช้แก้โรคคุดทะราด (ราก)
ใบสามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรค
เชื้อโรคบนผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (ใบ)
ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง (ใบ)
รากนำมาฝนใช้ทารักษากลากเกลื้อน
และใบอ่อนก็ใช้แก้กลากได้เช่นกัน (ราก, ใบ)
เปลือกและใบนำมาบดผสมกันใช้ทาแก้เม็ดผดผื่นตามร่างกายได้
(เปลือก,
ใบ)
เปลือกมีสรรพคุณช่วยแก้ฝี แก้บวม
หรือจะใช้เปลือกและใบนำมาบดผสมกันใช้ทารักษาฝี (เปลือก, ใบ)
คูน สรรพคุณของดอกช่วยแก้บาดแผลเรื้อรัง
รักษาแผลเรื้อรัง (ดอก)
เปลือกราชพฤกษ์ สรรพคุณช่วยสมานบาดแผล (เปลือก)
ฝักคูณมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดข้อ (เนื้อในฝัก)
ชาวอินเดียใช้ใบนำมาโขลก นำมาพอกแล้วนวด
ช่วยแก้โรคปวดข้อและอัมพาต (ใบ)
ช่วยกำจัดหนอนและแมลง
โดยฝักแก่มีสารออกฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทของแมลง
เมื่อนำฝักมาบดผสมกับน้ำทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน
แล้วใช้สารละลายที่กรองได้มาฉีดพ่นจะช่วยกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ (ฝักแก่)
สารสกัดจากรากราชพฤกษ์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase
นอกจากนี้ยังมีการนำสมุนไพรราชพฤกษ์มาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ มากมาย เช่น
น้ำมันนวดราชพฤกษ์ ที่เคี่ยวมาจากน้ำมันจากใบคูน เป็นน้ำมันนวดสูตรร้อนหรือสูตรเย็น
ที่ใช้นวดแก้อัมพฤกษ์อัมพาต และแก้ปัญหาเรื่องเส้น
ลูกประคบราชตารู เป็นลูกประคบสูตรโบราณ ที่ใช้ใบคูนเป็นตัวยาตั้งต้น ประกอบไปด้วย
ขมิ้นอ้อย เทียนดำ กระวาน และอบเชยเทศ โดยลูกประคบสูตรนี้จะใช้ปรุงตามอาการ
โดยจะดูตามโรคและความต้องการเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะได้ไม่เหมือนกัน
ผงพอกคูนคาดข้อ ทำจากใบคูนที่นำมาบดเป็นผง ช่วยแก้อาการปวดเส้น อัมพฤกษ์อัมพาต
โดยนำมาพอกบริเวณที่เป็นจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเลือด
บรรเทาอาการปวดข้อ รักษาโรคเกาต์ และยังช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
ซึ่งสูตรนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก ตาไม่หลับ
มุมปากตกได้ด้วย
ชาสุวรรณาคา ทำจากใบคูน
สรรพคุณช่วยในด้านสมอง แก้ปัญหาเส้นเลือดตีบในสมอง
ช่วยให้ระบบไหลเวียนในร่างกายดีขึ้น ช่วยแก้อัมพฤกษ์อัมพาต
โดยเป็นตัวยาที่มีไว้ชงดื่มควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น ๆ
ข้อควรระวัง ! :การทำเป็นยาต้ม ควรต้มให้พอประมาณจึงจะได้ผลดี
หากต้มนานเกินไปหรือเกินกว่า 8 ชั่วโมง
ยาจะไม่มีฤทธิ์ระบาย แต่จะทำให้ท้องผูกแทน และควรเลือกใช้ฝักที่ไม่มากจนเกินไป
และยาต้มที่ได้หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
ประโยชน์ของราชพฤกษ์
นิยมปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ
เช่น สถานที่ราชการ บริเวณริมถนนข้างทาง และสถานที่อื่น ๆ
ต้นราชพฤกษ์กับความเชื่อ
ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนามที่คนไทยโบราณเชื่อว่า
บ้านใดที่ปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติและศักดิ์ศรี
สาเหตุเพราะคนให้การยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยอีกด้วย
และยังเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นเจริญรุ่งเรือง
โดยจะนิยมปลูกต้นราชพฤกษ์ในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน
(อาจเป็นเพราะทิศดังกล่าวได้รับแสงแดดจัดในช่วงตอนบ่าย
เลยปลูกไว้เพื่อช่วยลดความร้อนภายในบ้านและช่วยประหยัดพลังงาน)
ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์
ใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์
ใช้ทำเสาหลักเมือง เสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร
คทาจอมพล ส่วนใบของต้นราชพฤกษ์จะใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ไว้สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีนัก
เป็นต้น
เนื้อไม้ใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ หรือทำเป็นไม้ไว้ใช้สอยอื่น ๆ เช่น ใช้ทำเสา เสาสะพาน
ทำสากตำข้าว ล้อเกวียน คันไถ เป็นต้น
เนื้อของฝักแก่สามารถนำมาใช้แทนกากน้ำตาลในการทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยายได้
ฝักแก่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจที่มีขนาดพอเหมาะ
โดยไม่ต้องผ่า ตัด หรือเลื่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น