หน้าเว็บ

พุดซ้อน(ข้อมูลเพิ่มเติม)


สรรพคุณของพุดซ้อน

  1. รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน ขับน้ำชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้ตัวร้อน มีไข้สูง (ราก, ผล)
  2. เนื้อไม้เป็นยาเย็น ช่วยลดพิษไข้ (เนื้อไม้) เปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น, ราก)
  3. ช่วยกระจายเลือดที่อุดตัน (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ (ผล)
  5. ช่วยแก้ตาอักเสบ (ผล)
  6.  
  7.  
  8. ช่วยแก้เลือดกำเดา (ผล)
  9. ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม ปวดฟัน (ผล)
  11. ช่วยรักษาปากและลิ้นเป็นแผล (ผล)
  12. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ผล)
  13. รากช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ราก)
  14. เปลือกต้นเป็นยาแก้บิด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)
  15. ผลเป็นยาขับพยาธิและขับปัสสาวะ (ผล) ส่วนน้ำจากต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ (น้ำจากต้น)
  16. ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ผล)
  17. ตำรับยาแก้ตับอักเสบเฉียบพลันเนื่องจากการติดเชื้อและมีอาการตัวเหลือง ระบุให้ใช้รากพุดซ้อนสด 70 กรัม, รากใบไผ่เขียว, หญ้าคา และเปลือกต้นหม่อนอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  18. รากใช้ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ช่วยสมานบาดแผล (ราก)
  19. น้ำคั้นจากดอกนำมาผสมกับน้ำมันใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนัง หรือจะใช้เฉพาะน้ำคั้นจากดอกเพียงอย่างเดียวก็ได้ (น้ำจากดอก)
  20. ช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนัง (ราก)
  21. ช่วยแก้ฝีหนองอักเสบ (ราก)
  22. ช่วยแก้อาการปวดบวม (ราก)
  23. ตำรับยาแก้เคล็ดขัดยอกระบุให้ใช้ผลพุดซ้อนแห้ง 250 กรัม, โกฐเชียง, คำฝอย และเมล็ดลูกท้ออย่างละ 150 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผง แล้วนำไปเคี่ยวกับวาสลิน 250 กรัม และผสมกับน้ำส้มสายชูอีก 500 ซีซี แล้วเคี่ยวจนให้เข้ากันดี ใช้เป็นยาทาภายนอกบริเวณที่มีอาการ (ผล)

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม  ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกแผลภายนอก[3]

สรรพคุณของผลพุดซ้อนตามตำราการแพทย์แผนจีน

  1. กีจื้อ (ผลพุดซ้อน) มีรสขมเย็น มีฤทธิ์ขับความร้อน ระบายความร้อน แก้ไข้ แก้หงุดหงิดกระวนกระวาย ช่วยเสริมความชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดาไหล แก้ปัสสาวะและอาเจียนเป็นเลือด (เนื่องจากเลือดมีพิษร้อน) แก้ดีซ่าน (ตัวเหลืองจากความร้อนหรือร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี) มีฤทธิ์บรรเทาอาการพิษอักเสบ แก้พิษอักเสบของแผล ฝีอักเสบ อาการบวมจากการกระทบกระแทก ลดบวมจากการอักเสบ ช่วยระงับอาการปวด แก้อาการอักเสบบวมแดง
  2. กีจื้อผัดและกีจื้อผลพุดซ้อนผัดเกรียมมีวิธีใช้และสรรพคุณที่เหมือนกัน แต่จะใช้ในกรณีที่ระบบกระเพาะอาหารและม้ามพร่อง
  3. กีจื้อถ่านมีฤทธิ์ห้ามเลือดและทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
หมายเหตุ : สำหรับวิธีใช้ ให้ใช้ประมาณ 6-9 กรัมนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม
 ข้อควรระวัง ผลพุดซ้อนไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้กับคนธาตุอ่อน อุจจาระเหลว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดซ้อน

  1. สารที่พบ ได้แก่ Jasminodin, Geniposide, Crocin, Shanzhiside, Genipin-1-B-gentiobioside, Dipentene, Gardonin และยังพบ Gum, Tanin เป็นต้น
  2. สารสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกระตุ้นน้ำดีให้มีการไหลออกมากขึ้น และจากการทดลองกับกระต่ายก็พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้ง Bilirubin ของเม็ดเลือดที่อยู่ในเส้นเลือดได้
  3. เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากผลพุดซ้อนหรือสารที่สกัดได้จากผลพุดซ้อนด้วยแอลกอฮอล์มาทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น หนู แมว หรือกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ทำให้ความดันของสัตว์ทดลองลดลงได้นานพอสมควร
  4. ผลพุดซ้อนมีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือดและช่วยสมานบาดแผล
  5. สารหลัก Linalool มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา มีฤทธิ์สงบประสาท และการอักเสบ

ประโยชน์ของพุดซ้อน

  1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวนบริเวณบ้านทั่วไป ตัดแต่งทรงพุ่มและปลูกเป็นแนวรั้วได้ดี สามารถควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม อีกทั้งดอกพุดซ้อนยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วย โดยตามความหมายของไทยจะหมายถึงความแข็งแรง สมบูรณ์ ความเจริญมั่นคง ส่วนตามความหมายของฝรั่งจะหมายถึงรักแท้
  2. ดอกนำมาปักแจกันไหว้พระหรือนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยสำหรับบูชาพระ ส่วนในประเทศจีนจะใช้ดอกพุดมาอบใบชาให้มีกลิ่นหอม
  3. ดอกสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  4. ผลและเมล็ดเมื่อนำมาบดจะให้สารสีเหลืองทองชื่อ Gardenia ใช้เป็นสีสำหรับแต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง (เช่น การใช้ย้อมสีด้านนอกของเต้าหู้แข็ง แต่งสีน้ำเก๊กฮวย ส่วนในประเทศจีนใช้เป็นสีย้อมผ้า) และยังให้สารสีน้ำตาลแดงชื่อ Corcin ใช้สำหรับแต่งอาหารให้มีสีน้ำตาลแดง
  5. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำธูป ทำกรอบรูป และทำหัวน้ำหอมได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น