สรรพคุณของขนุน
- ช่วยบำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น
(แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด, ราก, แก่น)
- ขนุนมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
ชูหัวใจให้สดชื่น (เนื้อหุ้มเมล็ดสุก, เนื้อในเมล็ด,
ผลสุก, เมล็ด)
- ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
- ขนุนหนังเป็นผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงติด 10 อันดับแรกของผลไม้ และยังมีวิตามินซีสูงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผลสุก)
- ขนุนมีประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้
โดยมีผลงานวิจัยของประเทศศรีลังกา ที่ได้ทำการทดลองในผู้ป่วยเบาหวานและในหนูทดลอง
ซึ่งผลการทดลองพบว่าสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ผลการทดลองยังได้ทำการเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวาน
ซึ่งก็คือยา Tolbutamide และได้ผลสรุปว่าสารสกัดจากขนุนสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายา
Tolbutamide ภายในเวลา 5 ชม. สำหรับวิธีนำมาปรุงเป็นยาก็ง่าย
ๆ เพียงแค่ใช้ใบขนุนแก่ 5-10 ใบ นำมาต้มในน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนานประมาณ 15 นาที
แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น (ใบ)
- ช่วยระงับประสาท (ใบ)
- ช่วยแก้โรคลมชัก (ใบ)
- ใบขนุนละมุด นำไปเผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู และเป็นหูน้ำหนวก (ใบขนุนละมุด)
- ใบขนุนใช้ต้มดื่มช่วยแก้อาการท้องเสียได้
(ใบ, ราก)
- เมล็ดช่วยแก้อาการปวดท้อง (เมล็ดขนุน)
- ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
(เนื้อหุ้มเมล็ด, ผลสุก)
- ช่วยสมานลำไส้ (แก่น)
- เม็ดขนุน มีสารพรีไบโอติกหรือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ทนต่อการย่อยของกระเพาะอาหารและการดูดซึมของลำไส้เล็กตอนบน ซึ่งช่วยดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียม เหล็ก สร้างสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคแต่อย่างใด (เมล็ด)
- ไส้ในของขนุนละมุด ใช้รับประทานช่วยแก้อาการตกเลือดในทวารเบาของสตรีที่มีมากไปให้หยุดได้ (ไส้ในขนุน)
- แก่นและเนื้อไม้ของต้นขนุน นำมาใช้รับประทานช่วยแก้กามโรค (แก่นและเนื้อไม้)
- ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
- ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ใบ, ราก)
- ช่วยรักษาแผลมีหนองเรื้อรัง (ยาง, ใบ)
- ช่วยสมานแผล (แก่น)
- ใช้ทาแผลบวมอักเสบ (ยาง)
- ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่เกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง (ยาง)
- ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่วยในการจับกลุ่มอสุจิ เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย สารในของเหลวของร่างกาย ช่วยยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
ประโยชน์ของขนุน
- เม็ดขนุน ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น (เม็ดขนุน)
- ใช้หมักทำเหล้า (เนื้อหุ้มเมล็ดสุก)
- ช่วยแก้อาการเมาสุรา (ผลสุก)
- แก่นของต้นขนุน นำมาใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำตาลแก่ นิยมนำมาใช้ย้อมสีจีวรพระ
- ส่าแห้งของขนุนนำมาใช้ทำเป็นชุดจุดไฟได้
- เนื้อไม้ของต้นขนุนสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องดนตรีได้
- เมล็ดและยวงสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้
- เนื้อขนุนสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้และทำเป็นขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่อง กินกับข้าวเหนียวมูน นำไปอบแห้ง
- ขนุนอ่อนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานเป็นผัก เช่น ใส่ในส้มตำ ตำมะหนุน แกงขนุน ยำ ขนุนอบกรอบ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อขนุนดิบ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 95 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม
- น้ำตาล 19.08 กรัม
- เส้นใย 1.5 กรัม
- ไขมัน 0.64 กรัม
- โปรตีน 1.72 กรัม
- วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม 1%
- เบตาแคโรทีน 61 ไมโครกรัม 1%
- ลูทีนและซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.105 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 2 0.055 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 3 0.92 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 5 0.235 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 6 0.329 มิลลิกรัม 25%
- วิตามินบี 9 24 ไมโครกรัม 6%
- วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม 17%
- วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม 1%
%
ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น